Google เปิดตัวเครื่องมือใหม่ชื่อว่า Data Gif Maker ที่สามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวแสดงการเปรียบเทียบข้อมูลสองตัวได้ ซึ่งจะช่วยให้การนำเสนอข้อมูลจำพวกแบบสำรวจหรือคะแนนภาพยนต์มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
วิธีใช้งานก็ง่าย ๆ เพียงแค่ใส่หัวข้อหรือประเด็นที่ต้องการจะเปรียบเทียบสองหัวข้อ จากนั้นก็ใส่คะแนนของหัวข้อลงไปทั้งสองฝั่ง (สามารถเลือกได้ว่าจะเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์หรือตัวเลข) ถ้าคะแนนของแต่ละหัวข้อที่จะเปรียบเทียบมีหลายคะแนนก็ให้คั่นด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ โดยเราสามารถเลือกสีให้แต่ละหัวข้อและระบุได้ว่าเปรียบเทียบหัวข้อจากอะไร (เราสามารถค้นหาคะแนนของหัวข้อได้จาก Google Trends explore ซึ่งเป็นเครื่องมือของ Google ที่แสดงสถิติการค้นหา) เมื่อเรากำหนดค่าต่าง ๆ เรียบร้อยแล้วก็สั่งให้แสดงสร้างภาพเคลื่อนไหว หรือจะเซฟผลการเปรียบเทียบออกมาเป็นไฟล์ GIF เพื่อนำไปเผยแพร่ต่อก็ได้
นักประสาทวิทยาได้ค้นพบว่าแบคทีเรียในลำไส้สามารถสื่อสารกับกับสมองเพื่อควบคุมสัตว์ในการเลือกอาหารได้ โดยนักวิจัยระบุว่ามีแบคทีเรียสองชนิดที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารของสัตว์ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้นำโดยคุณ Carlos Ribeiro วิจัยร่วมกับเพื่อนร่วมงานจาก Champalimaud Centre for the Unknown ใน Lisbon ประเทศโปรตุเกสและมหาวิทยาลัย Monash University ประเทศออสเตรเลีย
ในงาน Google I/O 2017 ที่ผ่านมา (สรุป Keynote ในงาน Google I/O 2017) ได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่าทาง Google ได้หันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี AI โดยการผนวก AI เข้าไปในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทำให้เกิดฟีเจอร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้ขึ้นมากมาย ซึ่งทาง Google ยังนำ AI มาใช้ช่วยวิเคราะห์การตลาดเพื่อวัดผลการโฆษณาและช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตทางธุรกิจให้กับองค์กร
Google Attribution ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ช่วยวัดประสิทธิภาพในการทำการตลาดว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ โดยการนำข้อมูลจาก AdWords, DoubleClick Search และ Google Analytics มาใช้ในการวิเคราะห์ร่วมกันและสรุปออกมาเป็นประสิทธิภาพในการโฆษณาว่าได้ผลลัพธ์ดีหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ Google Attribution ยังอยู่ในช่วงทดสอบ และจะเปิดให้ผู้ลงโฆษณาใช้งานในอีกไม่กี่เดือนถัดไป
แม้ว่าผู้ใช้งานจะหาสินค้าจากอินเตอร์เน็ตด้วยสมาร์ทโฟน แต่ส่วนใหญ่มักจบลงด้วยการไปซื้อสินค้าที่ร้านค้า โดยทาง Google ได้ปรับปรุงโมเดล deep learning เพื่อให้สามารถเทรนข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะช่วยวัดการเข้าร้าน (Store visits measurement) ของร้านค้าจากระบบ Search, Shopping และ Display นอกจากนี้ Google ยังมีแผนจะนำระบบวัดการเข้าร้านไปใช้กับ YouTube TrueView เพื่อวัดประสิทธิภาพในการดึงดูดลูกค้าจากวิดีโอโฆษณา
ระบบวัดการเข้าร้านเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการช่วยให้ธุรกิจเติบโต อีกสิ่งที่เราต้องการทราบคือโฆษณาที่เราลงไปนั้นสามารถสร้างรายได้กลับมาหรือเปล่า ดังนั้น Google จึงมีแผนจะใช้ระบบวัดการขายภายในร้านในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เพื่อให้เราสามารถวัดรายได้ภายในร้านได้นอกเหนือจากการเข้าชมร้านค้าโดยการโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ
สุดท้ายคือการปรับปรุง Search Ads ด้วยการเทคโนโลยี AI เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงผู้ที่พร้อมจะขายผลิตภัณฑ์และบริการตามที่ผู้ซื้อค้นหา
การกินอาหารที่ดีจะส่งเสริมให้เรามีสุขภาพที่ดี ดั่งเช่นคำกล่าวที่ว่า You are what you eat (เรากินอย่างไร เราก็เป็นอย่างนั้น) แต่ถ้าเราต้องการมีร่างกายที่แข็งแรงก็จำเป็นต้องออกกำลังกาย กลไกการสร้างให้ร่างกายแข็งแรง อันดับแรกเราต้องออกกำลังกายเพื่อทำลายกล้ามเนื้อก่อน พอเรานอนหลับ ร่างกายก็จะนำสารอาหารที่เรากินเข้าไปมาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งร่างกายของเราฉลาด เพราะไม่ใช่แค่ซ่อมแซมให้กลับมาดีเหมือนเดิม แต่ยังเสริมสร้างให้แข็งแรงมากขึ้นกว่าเก่า
ความปลอดภัยในสมาร์โฟนถือเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าสมาร์ทโฟนจะดีเลิศเลออัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง แต่ถ้าไม่มีการรักษาความปลอดภัยเลยก็อาจถูกขโมยข้อมูลได้โดยง่าย และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัย Google ได้ประกาศฟีเจอร์ใหม่ของระบบรักษาความปลอดภัยในงาน Google I/O 2017 ที่ผ่านมา (อ่านสรุป Keynote ภายในงาน)
แอนดรอยด์ถูกสร้างขึ้นโดยคำนึงถึงความปลอดภัยระดับองค์กร ซึ่งนอกจากทาง Google จะมีการสแกนตรวจสอบแอปพลิเคชันจำนวน 5 หมื่นล้านแอปพลิเคชันต่อวันแล้ว Google ยังเปิดตัว Google Play Protect ที่เป็นบริการรักษาความปลอดภัยซึ่งพร้อมใช้งานตลอดเวลา รวมไปถึงฟีเจอร์ด้านการรักษาความปลอดภัยและการจัดการใหม่ ๆ ที่เพิ่มเข้ามาใน Android O ซึ่งจะช่วยปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งาน
Google Play Protect มีอยู่ในอุปกรณ์แอนดรอยด์ทุกเครื่องที่มี Google Play ซึ่งจะใช้เทคโนโลยี AI ล่าสุดในการตรวจสอบเพื่อระบุแอปพลิเคชันที่เป็นภัยคุกคามและทำการลบออกโดยอัตโนมัติ โดยระบบนี้จะทำการตรวจสอบแอปพลิเคชันใน Google Play แล้วยังตรวจสอบแอปพลิเคชันในอุปกรณ์ของเรา (ซึ่งรวมไปถึงแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่รู้จัก) ให้อีกด้วย
จากงาน Google I/O 2017 ที่ผ่านมา (อ่านสรุป Keynote ภายในงาน) แสดงให้เห็นว่า Google ให้ความสำคัญกับ AI มาก เห็นได้จากการนำ AI มาใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทำให้เกิดฟีเจอร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย แต่การจะฝึกสอนให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้และคิดเองได้นั้นจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรทางด้านคอมพิวเตอร์อย่างมากมายมหาศาล ซึ่ง Google ได้ทำการเปิดตัว TensorFlow Research Cloud (TFRC) บริการที่สนับสนุนโครงงานวิจัยในด้าน AI โดยไม่คิดค่าบริการ
ในงาน Google I/O ที่กำลังจัดอยู่ (อ่านสรุป Keynote ภายในงาน) Google ได้เปิดตัว Google Payment API ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตที่บันทึกไว้ในบัญชี Google ผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ได้อย่างสะดวกขึ้น โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำหรือกรอกข้อมูลของบัตรเพิ่ม เพียงแค่เลือกการ์ดที่ต้องการ ใส่รหัสรักษาความปลอดภัยหรือตรวจสอบความถูกต้องกับอุปกรณ์แอนดรอยด์ จากนั้นก็จ่ายเงินได้ทันที
Google Payment API จะอนุญาตให้แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ใช้ข้อมูลบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตที่บันทึกไว้ในบัญชี Google โดยแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่ใช้งาน API จะแสดงปุ่ม "Pay with Google" และเมื่อผู้ใช้แตะที่ปุ่มก็จะเห็นรายชื่อบัตรที่บันทึกไว้
ในไม่อีกกี่เดือนถัดไป Google จะเปิดให้ส่งหรือรับเงินผ่าน Google Assistant ทั้งใน Google Home และในอุปกรณ์แอนดรอยด์
จบไปแล้วนะครับสำหรับงานวันแรกของ Google I/O 2017 งานประชุมสำหรับนักพัฒนาประจำปีของ Google ที่จัดกัน 3 วันติด ตั้งแต่วันที่ 17 - 19 พฤษภาคม 2560 ขึ้นชื่อว่าเป็นงานที่เหล่านักพัฒนามาประชุมกันแบบนี้ แน่นอนว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรม โดยภายในงานจะแบ่งเป็นห้อง ๆ ให้นักพัฒนาเข้าร่วมฟังหัวข้อการพัฒนาที่ตนเองสนใจ ซึ่งผมคงจะไม่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาสักเท่าไหร่ แต่จะสรุป Keynote หรือหัวข้อสำคัญของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ Google นำมาเปิดตัวในงานนี้
เริ่มต้นด้วยคุณซันดาร์ พิชัย (Sundar Pichai) CEO ของ Google ขึ้นมากล่าวเปิดงาน Google I/O 2017 บนเวที ตามด้วยตัวเลขสถิติผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของ Google ซึ่งมีมากกว่า 1 พันล้านคน ผู้คนดูวิดีโอบน Youtube มากกว่า 1 พันล้านชั่วโมงต่อวัน มีการใช้งาน Google Maps ในการนำทางมากกว่า 1 พันล้านกิโลเมตรต่อวัน มีผู้ใช้งาน Google Drive มากกว่า 800 ล้านคนและมีไฟล์ในระบบมากกว่า 3 พันล้านไฟล์ มีผู้ใช้งาน Google Photos มากกว่า 500 ล้านคนและมีการอัพโหลดรูป 1.2 พันล้านรูปต่อวัน ส่วนอุปกรณ์แอนดรอยด์มีการใช้งานมากกว่า 2 พันล้านเครื่อง
นอกจากนี้คุณพิชัยยังกล่าวว่า Google จะเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญมือถือเป็นอันดับแรกมาให้ความสำคัญด้านปัญญาประดิษฐ์ (Mobile first to AI first) ซึ่งจะมีการรวมปัญญาประดิษฐ์เข้าไปในผลิตภัณฑ์ของ Google เพื่ออำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน .....เอาล่ะ เรามาดูฟีเจอร์หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ Google นำมาเปิดตัวกัน
With Google Lens, your smartphone camera won’t just see what you see, but will also understand what you see to help you take action. #io17pic.twitter.com/viOmWFjqk1
ฟีเจอร์นี้ถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถอีกขั้นให้กับกล้องสมาร์ทโฟน จากเดิมที่ Google Translate สามารถแปลข้อความได้เพียงแค่ยกกล้องไปส่องที่ข้อความ แต่เมื่อเพิ่ม Google Assistant ลงไปก็ไม่ใช่แค่ทำให้เราเห็นได้เพียงอย่างเดียว แต่ยังทำให้เราเข้าใจในสิ่งที่เห็นได้อีกด้วย
Machine Learning ได้พัฒนาเป็นอย่างมากในช่วงเวลาไม่กี่ปี ซึ่งเครือข่ายประสาทเทียมนี้ได้ช่วยปรับปรุงคุณภาพการแปลภาษาของ
Google Translate ช่วยในการจัดอันดับผลการค้นหาของ Google
Search และช่วยให้สามารถค้นหารูปภาพที่ต้องการได้ง่ายขึ้นด้วย Google
Photos แต่เทคโนโลยีนี้จำเป็นต้องใช้การคำนวณจำนวนมหาศาลเพื่อฝึกแบบจำลองให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ Google จึงได้ออกแบบและสร้าง Tensor Processing Units (TPU) รุ่นที่สองเพื่อรองรับการคำนวณจำนวนมหาศาลนั้น
โครงการนี้ Google ได้พยายามนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ประโยชน์เพื่อทุกคน แต่การจะสร้าง AI นั้นค่อนข้างยาก Google จึงได้ออกแบบ AI ที่สามารถ "เรียนรู้ที่จะเรียนรู้ได้" และแนวทางนี้เรียกว่า AutoML ซึ่งมีแนวคิดว่า แทนที่จะใช้แรงงานมนุษย์ในการออกแบบโมเดล Machine Learning ใหม่ เปลี่ยนเป็นให้ Machine Learning ที่สร้างขึ้นแล้วทำหน้าที่ออกแบบแทน ซึ่งจะทำให้การสร้าง AI มีความยากน้อยลง
นอกจากนี้ Google ยังได้นำ AI มาใช้ใน AutoDraw เว็บไซต์ช่วยวาดรูปที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนที่แล้ว (อ่านข่าวการเปิดตัวเว็บไซต์ AutoDraw) และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกมากมายที่จะพูดถึงในหัวข้อถัดไป
Google Assistant
Google เพิ่มความสามารถ Google Assistant ให้รองรับการสนทนาจากการพิมพ์ ทำให้เราสามารถพิมพ์สั่ง Google Assistant แทนได้ .....อ้าว ปกติก็สั่งการด้วยเสียงได้สะดวกสบายกว่าอยู่แล้วนี่นา จะทำให้พิมพ์สั่งได้ด้วยไปทำไม จริงอยู่ที่ฟังก์ชันนี้อาจจะไม่ล้ำสมัยสักเล็กน้อย แต่ก็เป็นประโยชน์เวลาเราใช้งาน Google Assistant ในที่สาธารณะ เราคงไม่อยากถูกคนอื่นมองเวลาคุยกับสมาร์ทโฟนใช่ม่ะ แถมยังเป็นฟังก์ชันที่ช่วยคนที่ออกสำเนียงภาษาอังกฤษไม่เก่งได้เป็นอย่างดี (ฮา)
นอกจากนี้ Google ยังปล่อยแอปพลิเคชัน Google Assistant ให้ใช้งานบน iPhone แล้ว พร้อมทั้งเปิดชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของ Google Assistant (Google Assistant SDK) ที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถจับ Google Assistant มาใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์ของตนเองได้
Google Home
สิ่งใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามาใน Google Home มีหลายอย่าง อันดับแรกก็คือ Google Assistant ซึ่งจะทำให้บ้านของเราฉลาดขึ้นอีกขั้น สามารถให้ข้อมูลได้ด้วยตัวเองโดยที่เราไม่ต้องร้องขอ เช่น ถ้ามีรถติดในเส้นทางที่เรากำลังจะไป Google Home ก็จะแจ้งเตือนให้อัตโนมัติ อันดับถัดไปก็คือความสามารถในการโทรออกหรือ Hands-Free Calling ซึ่งเราสามารถโทรออกไปหาใครก็ได้ (ในสหรัฐฯ) เพียงแค่ใช้เสียงออกคำสั่งกับ Google Home เท่านั้น ที่สำคัญคือฟรี!
นอกจากนี้ยังมีบริการสตรีมเพลงจากเว็บให้เช่าเพลงเช่น Spotify และจะรองรับการสตรีมเพลงจากเว็บ Soundcloud และ Deezer , การสตรีมจากอุปกรณ์อื่นผ่าน Bluetooth หลังจากการอัปเดตในอนาคต และสิ่งสุดท้ายที่เพิ่มเข้ามาคือความสามารถในการเลือกอุปกรณ์แสดงผล ปกติ Google Home ไม่มีหน้าจอสำหรับแสดงผลอยู่แล้ว เวลาที่ผู้ใช้งานสั่งค้นหาเส้นทาง Google Home ก็จะส่งแผนที่เส้นทางไปแสดงผลในสมาร์ทโฟน
Google Photos
Google Photos เองก็ไม่รอด ถูกจับเจ้า Google Assistant เข้าไปใช้งานด้วย เพิ่มฟีเจอร์ในการแชร์ขึ้นมาอีก 3 ฟีเจอร์ ฟีเจอร์แรกก็คือ Suggested Sharing ซึ่งจะใช้ Machine Learning ค้นหาใบหน้าในรูปจากนั้นก็จะเตือนให้เราแชร์รูปถ่ายกับคนที่ปรากฏอยู่ในรูปด้วย เช่น เมื่อเราถ่ายรูปกับแฟน Google Photos ก็จะแจ้งเตือนขึ้นมาให้เราแชร์รูปถ่ายให้แฟนเราด้วย
ในอนาคต ด้วยพลังแห่ง Machine Learning จะทำให้ Google Photos สามารถลบสิ่งไม่พึงประสงค์ในรูปออกไปได้โดยอัตโนมัติ
YouTube
With 360 video on the @YouTube app, you'll feel like you're the middle of the action from your couch, on the biggest screen you own. #io17pic.twitter.com/Y3LmQaKD54
ฟีเจอร์ Autofill with Google จะช่วยในการเติมข้อมูลให้อัตโนมัติ โดยเป็นข้อมูลที่ Sync มาจาก Google Chrome ซึ่งใครที่ใช้ Google Chrome ในการท่องเว็บอยู่แล้วจะรู้ถึงความสะดวกสบายของฟีเจอร์นี้เลย
นอกจากจะเพิ่มลูกเล่นใหม่ให้เราสามารถใช้งานได้สะดวกมากขึ้นแล้ว ยังมีการปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้งานของ Android O ให้ดียิ่งขึ้น เช่น ความปลอดภัย อายุของแบตเตอรี่ เป็นต้น โดย Google เรียกการปรับปรุงในด้านประสิทธิภาพนี้ว่า Vitals นอกจากนี้เพื่อเป็นการเฝ้าระวังแอปพลิเคชันน่าสงสัย ทาง Google ยังได้สแกนแอปพลิเคชันที่ติดตั้งในเครื่องมากถึง 5 หมื่นล้านแอปพลิเคชันต่อวัน
เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบให้ดียิ่งขึ้น Google เปิดตัว Google Play Protect ซึ่งเป็นตัวตรวจหาไวรัสที่จะคอยสแกนแอปพลิเคชันเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีโค้ดที่น่าสงสัยหรือมีอันตราย นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงระบบปฏิบัติการให้สามารถเปิดเครื่องและแอปพลิเคชันได้เร็วขึ้นถึง 2 เท่า และเพิ่มประสิทธิภาพให้แอปพลิเคชันที่ทำงานอยู่เบื้องหลังใช้ทรัพยากรและกินแบตเตอรี่น้อยลง
ในด้านการพัฒนา Google ได้เพิ่มฟีเจอร์ให้ Play Console Dashboards เพื่อที่จะวิเคราะห์แอปพลิเคชันของนักพัฒนาว่าใช้ทรัพยากรหรือกินแบตเตอรี่มากเกินไปหรือเปล่า ซึ่งจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ แล้วยังมีส่วนเสริมของ Android Studio ที่ช่วยแสดงประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันที่กำลังพัฒนา ว่าใช้หน่วยความจำเท่าไหร่ กินแบตเตอรี่มากแค่ไหน และสิ่งใหม่สุดท้ายที่เพิ่มเติมเข้ามาในด้านการพัฒนานั่นก็คือการประกาศรองรับภาษา Kotlin เป็นภาษาที่สองสำหรับการเขียนโปรแกรมนั่นเอง
Android Go
Google เปิดตัวโครงการใหม่ที่เรียกว่า Android Go ซึ่งเป็นการปรับแอนดรอยด์ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์สเปคต่ำที่มีแรมน้อยกว่า 1 GB ไม่ว่าจะเป็นลดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโหมดประหยัดดาต้าของ Google Chrome ซึ่งสามารถลดการใช้ดาต้าได้ 750 TB ต่อวัน ปรับปรุงบางแอปพลิเคชันให้กินทรัพยากรน้อยลง (ซึ่งนั่นหมายถึงคุณภาพของแอปพลิเคชันนั้นจะลดลงด้วย) รองรับหลายภาษา เพื่อทำให้สมาร์ทโฟนที่ใช้งาน Android Go มีราคาถูกจนทุกคนสามารถซื้อมาใช้งานได้
VR และ AR
Google เปิดตัว Daydream เมื่อปีที่แล้วเพื่อนำเสนอประสบการณ์เสมือนจริงที่มีคุณภาพสูงเข้าสู่สมาร์ทโฟน ซึ่งในงานครั้งนี้ Google ประกาศเพิ่มชุดหูฟัง Daydream VR แบบสแตนด์อโลน ซึ่งสามารถทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้สมาร์ทโฟนหรือเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งตอนนี้ Google กำลังทำงานร่วมกับ HTC Vive และ Lenovo เพื่อสร้างและเปิดตัวชุดหูฟังใหม่ในปลายปีนี้ โดยตัวแว่นใหม่จะมีเซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหวได้อย่างละเอียดที่เรียกว่า WorldSense เพิ่มเข้ามา
ในส่วนของ AR มีการเปิดตัว Visual Positioning Service (VPS) ที่ช่วยจับตำแหน่งภายในอาคารได้อย่างแม่นยำจากการจับภาพและลักษณะพื้นที่รอบ ๆ นอกจากนี้ Google ยังรวมเทคโนโลยี AR เข้าไปใน Google Expeditions (โครงการที่ใช้แว่น VR พาเด็ก ๆ ไปสำรวจและเรียนในสถานที่แปลกใหม่) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้
Google for Jobs
Google for Jobs คือผลิตภัณฑ์ของ Google ที่จะช่วยค้นหางาน ตั้งแต่งานขายปลีกจนถึงตำแหน่งผู้บริหาร ซึ่งจะใช้ Machine Learning ในการกรองตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับผู้ใช้ รวมไปถึงความสะดวกในการเดินทาง สามารถค้นหาได้ทันทีในช่องค้นหาของ Google โดย Google for Jobs จะเปิดตัวในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าและจะให้บริการในสหรัฐอเมริกาเป็นที่แรกก่อน และจะทยอยให้บริการในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
ในปีนี้ Google ให้ความสำคัญกับ AI และได้นำ AI มาทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทำให้เกิดฟีเจอร์ใหม่ ๆ มากมาย ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน แต่นี่เป็นเพียงแค่ Keynote เท่านั้น ซึ่งผมจะทยอยนำเทคโนโลยีที่ Google พูดถึงในงาน Google I/O วันอื่น ๆ มาเขียนให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกัน แต่บทความอาจจะมาช้านิดนึงนะ แหะ ๆ