วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สร้างโปรเจคและตั้งค่า Emulator เพื่อรันแอปพลิเคชัน Android


          บทความนี้เป็นบทความสั้น ๆ ในการสร้างโปรเจค Android และตั้งค่า AVD หรือ Android Virtual Device Manager ซึ่งเป็น Emulator ที่ใช้สำหรับจำลองการทำงานของสมาร์ตโฟน Android เพื่อใช้ทดสอบแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android


          อันดับแรกให้เปิดโปรแกรม Android Studio ขึ้นมาก่อน (เพื่อน ๆ สามารถดูขั้นตอนการติดตั้งได้ที่ "เตรียมความพร้อมก่อนจะพัฒนาโปรแกรมบน Android" จ้า) ตัวโปรแกรมไม่มีวิธีเปิด AVD จากในหน้า Startup Screen นี้ เพราะงั้นก็ต้องเข้าไปยังหน้า Editor สำหรับเขียนโค้ดก่อน ให้คลิกที่ Start a new Android Studio project เพื่อสร้างโปรเจคใหม่ขึ้นมา (หรือถ้าเพื่อน ๆ มีโปรเจคอยู่แล้วก็คลิก Open an existing Android Studio project)


          อันดับแรกให้กรอกข้อมูลดังต่อไปนี้แล้วคลิกปุ่ม Next
  • Application Name: ชื่อแอปพลิเคชันที่เราจะสร้าง
  • Company domain: domain หรือเรียกง่าย ๆ ว่า URL ของเว็บนั่นเอง ใช้ในการสร้าง Package name *ชื่อ Package name คือชื่อรหัสประจำตัวของแอปฯ เกิดจากการนำ Application name กับ Company domain มารวมกัน ซึ่งจะต้องห้ามซ้ำกับของแอปพลิเคชันอื่น
  • Project location: ตำแหน่งที่เก็บโปรเจค

          เลือกว่าเราจะสร้างแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์ประเภทไหนและรองรับแอนดรอยด์ต่ำสุดเวอร์ชันเท่าไหร่ ข้างล่างตัวเลือกเวอร์ชันจะมีตัวเลขแสดง % จำนวนผู้ใช้งานที่รองรับ Android เวอร์ชันที่เลือก จากนั้นคลิกปุ่ม Next


          เลือกเป็น Empty Activity แล้วคลิกปุ่ม Next


          ในหน้าสุดท้ายนี้ให้ตั้งชื่อ Activity หลักที่จะทำงาน (ปล่อยเอาไว้ตามที่โปรแกรมตั้งค่ามาให้ก็ได้) จากนั้นก็คลิกปุ่ม Finish แล้วก็รอให้โปรแกรมสร้างโปรเจคขึ้นมาให้


          การแสดงผลแบบ Android อาจจะดูยากไป สามารถเปลี่ยนให้แสดงผลเป็นแบบ Project น่าจะมองง่ายกว่า


          เท่านี้ก็เหลือแค่สั่งรันแอปพลิเคชัน โปรเจค DummyApplication ก็จะเสร็จสมบูรณ์ (ซึ่งผลลัพธ์จะแสดงข้อความ Hello World บนหน้าจอ) ถึงเราจะเขียนแอปพลิเคชันแอนดรอยด์ในคอมพิวเตอร์ แต่การจะรันแอปพลิเคชันแอนดรอยด์ก็ต้องรันบนอุปกรณ์แอนดรอยด์อยู่ดี ซึ่งวิธีรันแอปพลิเคชันแอนดรอยด์มี 2 วิธี ได้แก่ รันผ่านอุปกรณ์แอนดรอยด์ (โทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์นั่นเอง) และ รันผ่านอุปกรณ์แอนดรอยด์เสมือน (Android Virtual Device)


รันผ่านอุปกรณ์แอนดรอยด์

          วิธีที่ใช้ในการรันแอปพลิเคชันแอนดรอยด์ แน่นอนว่าหนีไม่พ้นการใช้มือถือแอนดรอยด์จริง ๆ ในการทดสอบ แต่สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนคือการเปิดโหมด Developer ในมือถือแอนดรอยด์ซะก่อน ซึ่งเจ้าโหมดนี้อาจจะหายากสักนิด ผู้ใช้มือถือทั่วไปอาจจะหาวิธีเปิดไม่เจอ แต่ไม่เป็นไร เรามาดูกันดีกว่าว่าจะเปิดโหมด Developer ยังไง เริ่มจากเปิดหน้า Setting


          เข้าไปที่ About phone

 

          ในหน้า About phone ให้เลื่อนลงมาหา Build number จากนั้นก็กดลงไป 7 ครั้ง ระบบจะแจ้งข้อความว่า "You are now a developer!"


          แค่นี้เมนู Developer options ก็จะปรากฎออกมาให้ยลโฉมแล้ว จะรอช้าอยู่ไย .....กดเข้าไปเล้ยยยยย

  

          ในเมนู Developer options ให้เราเปิดใช้งานตัวเลือก USB debugging


          เมื่อเราเอาโทรศัพท์เสียบสาย USB เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะขึ้นหน้าจอแจ้งเตือนแบบนี้ ให้กด "Always allow from this computer" จากนั้นก็กด OK โล้ด!!


          ทีนี้เรามาลองรันแอปพลิเคชันกันเล้ย กดที่ไอคอน Run 'app' (Shift + F10)


          เลือกที่โทรศัพท์ของเราแล้วคลิกปุ่ม OK


          ที่เครื่องโทรศัพท์ของเราก็จะแสดงหน้าจอดังภาพ .....เป็นอันเรียบร้อย


รันผ่านอุปกรณ์แอนดรอยด์เสมือน


          กดที่ไอคอน ADV Manager


          กด Create Virtual Devices


          หน้านี้จะให้เราเลือกสเปคอุปกรณ์เสมือน เช่น ขนาดหน้าจอ หน่วยความจำ เป็นต้น โดยข้อมูลที่มีมาให้จะเป็นของเครื่อง Nexus ทั้งหมด (ถ้าเราต้องการใส่ข้อมูลเครื่องเอง ให้กด New Hardware Profile) เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Next


          เลือกระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์เสมือน จากนั้นกด Next


          ตั้งชื่อและค่าเริ่มต้นอุปกรณ์เสมือนจากนั้นคลิกปุ่ม Finish


          ก็จะได้ผลลัพธ์ประมาณนี้

          แต่เดี๋ยวก่อน! สังเกตเห็นคำเตือนที่ว่า "VT-x is disabled in BIOS." กันหรือเปล่าเอ่ย เจ้าคำเตือนนี้บอกว่าฟีเจอร์ของ Virtualized ใน BIOS ถูกปิดการทำงานอยู่ เลยทำให้ไม่สามารถจำลองอุปกรณ์เสมือนได้ แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะบทความก่อนหน้านี้เราได้ทำการเปิดการทำงานในส่วนนี้ไปแล้ว (ถ้าใครที่เจอปัญหานี้อยู่สามารถย้อนกลับไปอ่านบทความ วิธีเปิดการทำงานของ Virtualization Technology ใน BIOS ก่อนได้เลยจ้าาาาา)


          กด Launch ได้เลย ตรงนี้เครื่องจะใช้เวลาในการสร้างอุปกรณ์จำลองสักนิด


          ได้แล้ว!!!


          ทีนี้เรามาลองรันแอปพลิเคชันกันเล้ย กดที่ไอคอน Run 'app' (Shift + F10)


          เลือกอุปกรณ์เสมือนที่เราได้สร้างไว้แล้วกดปุ่ม OK


          แอปพลิเคชันขึ้นมาแล้ว ได้ผลลัพธ์เหมือนกับที่แสดงผลในโทรศัพท์เลย

          ในบทความนี้เราได้ลองสร้างโทรศัพท์เสมือน อีกทั้งยังได้ทำการทดสอบรันแอปพลิเคชันแรกทั้งในโทรศัพท์จริงและโทรศัพท์เสมือน ซึ่งทำให้เราได้เรียนรู้วิธีกดรันแอปพลิเคชันที่จะได้ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันต่อไป ซึ่งผมก็ขอจบบทความลงเพียงเท่านี้ พบกันใหม่บทความหน้า บ๊ายบาย


วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

วิธีเพิ่ม Facebook Messenger ลงในเว็บไซต์


          ในยุคที่การติดต่อสื่อสารทำได้อย่างง่ายนี้ สิ่งหนึ่งที่เว็บไซต์ (...โดยเฉพาะเว็บไซต์ขายของ) ควรจะมีนั่นก็คือช่องทางติดต่อ เวลาที่ผู้ใช้งานเว็บไซต์เกิดข้อสงสัยและอยากติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์แต่กลับหาวิธีติดต่อไม่เจอ ก็จะทำให้ผู้ใช้ไม่อยากกลับเข้ามาใช้เว็บไซต์ของเราอีก ทางออกที่ง่ายที่สุดคือการใส่ข้อมูลช่องทางติดต่อลงไปในเว็บ แต่มันคงจะดีกว่ามั๊ย ถ้าผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับเราผ่านทางเว็บไซต์ได้เลยโดยไม่ต้องออกจากเว็บ ซึ่งวิธีที่ว่านั่นก็คือการติด Live Chat เข้าไปในเว็บไซต์นั่นเอง

          ในปัจจุบันมี Live Chat มากมายให้เลือกใช้ ทั้งตัวที่ฟรีและตัวที่เสียเงิน ซึ่งทาง Facebook เองก็ไม่ยอมน้อยหน้า ส่งตัว Customer Chat Plugin ออกมาให้พวกเราเหล่านักพัฒนานำไปติดตั้งในเว็บไซต์ได้โดยไม่เสียค่าบริการ ถือเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเจ้า Plugin ตัวนี้จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อ Facebook Page ได้ผ่านหน้าเว็บไซต์ ซึ่งแน่นอนว่าเว็บไซต์ที่จะใช้ Plugin ตัวนี้จำเป็นต้องมี Facebook Page ก่อน

          เอาล่ะ! หลังจากที่เกริ่นกันมาสักพักแล้ว เรามาเริ่มติดตั้ง Facebook Messenger กันเลยดีกว่า


          อันดับแรกให้เข้าไปที่ Facebook Page จากนั้นคลิกเมนู About ที่แถบเมนูด้านซ้าย


          เลื่อนลงมาข้างล่างจนเจอ Page ID แล้วให้ copy Page ID เก็บเอาไว้ จากนั้นก็คลิกที่เมนู Setting ที่อยู่มุมบนขวา


          ในหน้า Setting ให้คลิกเมนู Messenger platform ที่อยู่ตรงแถบเมนูซ้ายมือ


          เลื่อนลงมาจนเจอส่วน White-listed domains จากนั้นก็ให้กรอก URL ของเว็บไซต์ที่จะติดตั้ง Live Chat ลงไป แล้วคลิกปุ่ม Save


          จากนั้นให้เลื่อนลงไปจนเจอ Customer chat plugin แล้วคลิกปุ่ม Set Up


          ระบบจะแสดงหน้าสำหรับตั้งค่าขึ้นมา ให้คลิกปุ่ม Next เพื่อเริ่มดำเนินการตั้งค่าได้เลย


          ในหน้าการตั้งค่านี้ เราสามารถแก้ไขข้อความต้อนรับ โดยในแถบด้านซ้ายจะมีตัวเลือกภาษากับข้อความต้อนรับ ให้เราเปลี่ยนได้ตามใจชอบ ซึ่งในแถบด้านขวาจะมีการแสดงผลการตั้งค่าแบบ real time อยู่ เมื่อเปลี่ยนแล้วเรียบร้อยแล้วก็ให้คลิกปุ่ม Next เพื่อไปขั้นตอนถัดไป


          ถัดไปเป็นการตั้งค่าสี Theme และระยะเวลาที่เราจะตอบกลับ (response time) ผู้ใช้งาน เพื่อเป็นการแจ้งผู้ใช้งานว่าเราจะตอบทันที หรืออาจจะต้องรอนิดหน่อย เมื่อตั้งค่าตามใจชอบแล้วก็คลิกปุ่ม Next เพื่อไปสู่การตั้งค่าหน้าสุดท้าย


          หน้านี้จะแสดงโค้ดให้เรา copy ไปติดตั้งในเว็บไซต์ โดยส่วนด้านซ้ายจะมีช่องให้เรากรอก URL ของเว็บที่จะติดตั้ง Plugin ตัวนี้เพิ่มเติม หลังจาก copy โค้ดเสร็จแล้วก็ให้คลิก Finish เพื่อปิดหน้าการตั้งค่า


          เย่! เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพียงแค่คลิกนู่นคลิกนี่แล้วก็ copy โค้ดมาแปะก็ได้ Live Chat ในหน้าเว็บไซต์แล้ว ไม่ยากเลยใช่ม่ะ..... เพื่อน ๆ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Customer Chat Plugin

ไฟล์โค้ด: AiNoTsubasa's Github


วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ทำระบบ Login เข้าใช้งานเว็บไซต์ด้วย Facebook Login


          ปัจจุบันนี้ เวลาจะ Login เข้าใช้งานเว็บไซต์ดัง ๆ ที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากหรือแม้กระทั่งแอปพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ เพื่อน ๆ ก็มักจะเห็นปุ่ม Login with Facebook อยู่ในหน้าเข้าสู่ระบบกันใช่มั๊ยล่ะ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอะไร เพราะยิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้าไปเท่าไร ทำให้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้คนมากขึ้นเท่านั้น และนั่นก็ส่งผลให้คนเรารักความสะดวกสบายและต้องการการตอบสนองที่รวดเร็วทันใจ

          สำหรับคนที่ชอบท่องไปในโลกอินเทอร์เน็ต การลืม username และ password ที่ใช้ในการเข้าสู่ระบบของแต่ละเว็บถือก็เป็นเรื่องปกติ (ยิ่งมีหลายรหัสผ่านก็ยิ่งชิxหาย ผมเองก็ยังลืมอยู่บ่อย ๆ ฮา) ประกอบกับ Facebook เป็นโซเชียลเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการผนวกระบบ Login ของ Facebook เข้ามาใช้งานในเว็บไซต์จึงถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานเว็บไซต์นั้น ๆ ให้สามารถเข้าใช้งานได้ง่ายขึ้น ตอบสนองความขี้เกียจ เอ๊ย ความสะดวกสบายโดยลดเวลาในการกรอกข้อมูลตอนสมัครสมาชิก ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมานั่งจำ username และ password

          หลังจากเกริ่นกันมาซะยาว เรามาเริ่มทำระบบ Login ของเว็บไซต์ด้วย Facebook Login กันเลยดีกว่า ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องมี account ของ Facebook ก่อน จากนั้นก็ไปตั้งค่าการใช้งาน Facebook API ในหน้า Developer


          เข้าไปที่ URL https://developers.facebook.com/ จากนั้นให้คลิก Get Started ที่มุมขวาบนของเว็บ


          สำหรับผู้ที่ยังไม่มี Developers account ระบบก็จะแสดงหน้าขั้นตอนการสมัคร Facebook for Developers account ขึ้นมาก่อน อย่ารอช้า รีบทำการสมัครตามขั้นตอนไปเลย ส่วนผู้ที่สมัคร Developers account ไว้แล้วก็ให้ Login เข้าสู่ระบบ


          เมื่อ Login เข้ามาแล้วเมนูที่มุมขวาจะเปลี่ยนเป็นเมนู My Apps ให้คลิกเบา ๆ แล้วเลือกที่ Add a New App


          จะมีกล่องสำหรับสร้าง ID ของแอปพลิเคชันใหม่ปรากฏขึ้นมา ให้เราทำการกรอกชื่อเรียกสำหรับแอปพลิเคชันที่ต้องการสร้าง และกรอก E-mail ที่ใช้ในการติดต่อ หลังจากนั้นให้คลิกปุ่ม Create App ID


          หลังจากที่แอปพลิเคชันใหม่ถูกสร้างแล้ว อันดับแรกให้ไปตั้งค่าแอปพลิเคชันกันก่อน คลิกที่เมนู Setting > Basic


          ในหน้านี้มีข้อมูลสำคัญอยู่ 1 ค่าที่จะต้องนำไปใช้ในส่วนต่อไปของบทความนี้ ได้แก่ App ID ให้กรอกข้อมูลเพิ่มลงไปในช่องดังต่อไปนี้
  • App Domains: URL ของเว็บไซต์ (กรณีที่เทสบน localhost ให้เว้นช่องนี้ไว้)
  • Privacy Policy URL: URL นโยบายความเป็นส่วนตัว (สามารถสร้างนโยบายความเป็นส่วนตัวได้ที่เว็บ https://app-privacy-policy-generator.firebaseapp.com/)
  • Category: หมวดหมู่ของแอปพลิเคชัน

          จากนั้นให้เลื่อนลงมาข้างล่างแล้วคลิกปุ่ม + Add Platform


          จะมีหน้าต่างให้เลือกแพลตฟอร์มปรากฏขึ้นมา ให้เราเลือก Website


          จากนั้นให้กรอก URL ของเว็บไซต์ในช่อง Site URL (กรณีที่เทสบน localhost ให้ใส่เป็น https://localhost/) แล้วคลิกปุ่ม Save Changes จากนั้นให้คลิกเมนู Dashboard ที่อยู่ในแถบเมนูด้านซ้าย


          เมื่อเข้าสู่หน้า Dashboard แล้ว ให้เลื่อนลงมาล่าง ๆ จะเจอในส่วนของ Add a Product จากนั้นก็คลิกปุ่ม Set Up ของ Facebook Login


          ให้คลิกเลือกแพลตฟอร์มเป็น Web


          พิมพ์ URL ของเว็บไซต์ในช่อง Site URL จากก็คลิกปุ่ม Save และปุ่ม Continue ตามลำดับ


          ขั้นตอนถัดไปให้สร้างไฟล์ Html แล้ว Copy Code มาใส่ไว้ใต้ <body> โดยแก้ไข {your-app-id} เป็นค่า App ID และแก้ไข {api-version} เป็นเลขเวอร์ชันปัจจุบันของ Facebook SDK (ซึ่ง ณ วันที่เขียนนี้ Facebook SDK เป็นเวอร์ชัน 3.1) จะได้โค้ดประมาณนี้

<!DOCTYPE html>
<html>
 <head>
  <title>Facebook Login</title>
  <meta charset="utf-8">
  <meta http-equiv="X-UA-Compatible" content="IE=edge,chrome=1">
     <meta name="description" content="Facebook Login">
     <meta name="author" content="AiNoTsubasa">
  <meta name="viewport" content="width=device-width, initial-scale=1">
  <style type="text/css"></style>
 </head>
 <body>

  <script>
    window.fbAsyncInit = function() {
      FB.init({
        appId      : '{your-app-id}',
        cookie     : true,
        xfbml      : true,
        version    : 'v3.1'
      });
        
      FB.AppEvents.logPageView();   
        
    };

    (function(d, s, id){
       var js, fjs = d.getElementsByTagName(s)[0];
       if (d.getElementById(id)) {return;}
       js = d.createElement(s); js.id = id;
       js.src = "https://connect.facebook.net/en_US/sdk.js";
       fjs.parentNode.insertBefore(js, fjs);
     }(document, 'script', 'facebook-jssdk'));
  </script>


 </body>
</html>
          โค้ดในส่วนนี้จะเป็นการเพิ่ม Facebook SDK เข้ามาในหน้าเว็บไซต์ ถัดไปจะเป็นการใส่ปุ่มเพื่อ Login ให้เพิ่มโค้ดดังต่อไปนี้ไว้ข้างล่าง </script>

<button onclick="checkFbLoginState();">Login with Facebook</button>
          พอเพิ่มปุ่มลงไปแล้วก็ให้ทำการสร้างฟังก์ชัน checkFbLoginState() ขึ้นมา โดยใส่โค้ดดังต่อไปนี้ไว้ก่อน </script>

var fbLoginStatus = false;
function checkFbLoginState() {
  FB.getLoginStatus(function(response) {
    statusChangeCallback(response);
  });
}

function statusChangeCallback(response) {
  if(fbLoginStatus == false) {  
    if (response.status == 'connected') {
      fbLoginStatus = true;
      getCurrentUserInfo(response);
    } else {
      FB.login(function(response) {
        if (response.authResponse){
          fbLoginStatus = true;
          getCurrentUserInfo(response);
        } else {
          console.log('Auth failed.');
        }
      }, {scope: 'public_profile,email'});
    }
  } else if(fbLoginStatus == true) {
    getCurrentUserInfo(response);
  }   
}

function getCurrentUserInfo() {   
  FB.api('/me?fields=name,email,first_name,last_name,id', function(userInfo) {
    var result = '';
    result+= "ID: "+userInfo.id+"\r";
    result+= "First Name: "+userInfo.first_name+"\r";
    result+= "Last Name: "+userInfo.last_name+"\r";
    result+= "E-mail: "+userInfo.email+"\r";
    document.getElementById("result").text = result;
  });   
}
          ฟังก์ชัน checkFbLoginState() จะทำการเรียกใช้งานฟังก์ชัน FB.getLoginStatus() ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่มาจาก Facebook SDK โดยจะทำการเช็คว่าผู้ใช้งานได้ Login แล้วหรือยัง ถ้ายังก็จะเรียกใช้งานฟังก์ชัน FB.login() แล้วจึงเรียกใช้งานฟังก์ชัน getCurrentUserInfo() ต่อไปเพื่อดึงข้อมูลของผู้ใช้งานออกมาแสดง ถัดไปก็ให้เราใส่โค้ดสำหรับแสดงผลการ Login ไว้ข้างล่างปุ่มกด

<br>
Result: <textarea id="result"></textarea>
          พอทำถึงขั้นตอนนี้ หน้าเว็บจำลองของเราก็พร้อมจะทำงานแล้ว ถัดไปให้ไป public แอปพลิเคชันที่เราได้สร้างเมื่อสักครู่ โดยกลับไปยังหน้า Developers Console แล้วคลิกที่เมนู App Review ที่อยู่ตรงแถบเมนูด้านซ้าย


          คลิกในส่วน Make Tester App public? เพื่อเปิดการใช้งานแอปพลิเคชัน แล้วคลิก Confirm ..... เอาล่ะ เรามาทดสอบโค้ดที่เขียนกันเลยดีกว่า


          เรียกใช้งานไฟล์เว็บที่เพิ่งสร้างเมื่อสักครู่ จะได้หน้าตาว่าง ๆ ประมาณนี้ จากนั้นก็คลิกปุ่ม Login with Facebook โล้ด


          เมื่อคลิกปุ่ม Login with Facebook เรียบร้อยแล้วก็จะมีหน้าต่างปรากฏขึ้นมาขอสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล ก่อนจะคลิกปุ่มก็ขอแนะนำว่าให้อ่านดูสักนิดว่าแอปพลิเคชันขอสิทธิ์การเข้าถึงอะไรของเราบ้าง (ตรงที่ขีดเส้นใต้ไว้) ไม่งั้นอาจจะซวยทีหลังได้นาจา ให้เราคลิกปุ่ม Continue as ...


          เรียบร้อย! ข้อมูลเราถูกแอปพลิเคชันเอาไปแล้วจ้า รออะไรอยู่ล่ะ ตบมือ 👏 ฮะฮะ

          บทความนี้เป็นตัวอย่างการนำ Facebook Login มาใช้งานในเว็บไซต์ของเรา ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานเว็บไซต์ นอกจากนี้เรายังสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งาน Facebook และนำไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลได้อีกด้วย

ไฟล์โค้ด: AiNoTsubasa's Github