วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

แบคทีเรียในลำไส้สามารถสั่งสมองสัตว์ให้เลือกกินได้


          แบคทีเรียมีอยู่ทุกที่บนร่างกายของเรา มีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่ถ้าลองนับจำนวนเซลล์ของแบคทีเรียในร่างกายแล้วจะพบว่ามีเซลล์แบคทีเรียมากถึง 100 ล้านล้านเซลล์เลยทีเดียว ในขณะที่มนุษย์เรามีจำนวนเซลล์เพียง 10 - 30 ล้านล้านเซลล์เท่านั้น ซึ่งแบคทีเรียจำนวนมากมายมหาศาลนั้นก็ไม่ได้อาศัยอยู่ในร่างกายเราอย่างเปล่าประโยชน์ อย่างสำนวนที่ว่า "อยู่บ้านท่านอย่างนิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น" แบคทีเรียเองก็มีปฏิสัมพันธ์และก่อให้เกิดส่งผลกระทบต่อร่างกายในระดับที่สามารถทำให้เราป่วยได้เลยทีเดียว (เช่น ทำให้เราติดเชื้อ)

          นักประสาทวิทยาได้ค้นพบว่าแบคทีเรียในลำไส้สามารถสื่อสารกับกับสมองเพื่อควบคุมสัตว์ในการเลือกอาหารได้ โดยนักวิจัยระบุว่ามีแบคทีเรียสองชนิดที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารของสัตว์ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้นำโดยคุณ Carlos Ribeiro วิจัยร่วมกับเพื่อนร่วมงานจาก Champalimaud Centre for the Unknown ใน Lisbon ประเทศโปรตุเกสและมหาวิทยาลัย Monash University ประเทศออสเตรเลีย

          จากงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาแมลงหวี่ (Drosophila melanogaster) ทำให้นักวิจัยสามารถจำแนกปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของอาหารและจุลินทรีย์ซึ่งส่งผลต่อความต้องการอาหารของแมลงได้ โดยแมลงหวี่ที่ขาดกรดอะมิโนจะมีสืบพันธุ์น้อยลงและมีความต้องการอาหารจำพวกโปรตีนมากขึ้น

          นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังได้ทดสอบผลกระทบต่อการเลือกอาหารของแบคทีเรีย 5 ชนิดที่อยู่ในลำไส้ของแมลงหวี่ป่า แล้วพบว่ามีแบคทีเรียพิเศษสองชนิดที่สามารถลดความอยากอาหารจำพวกโปรตีนในแมลงหวี่ที่ขาดกรดอะมิโนได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะแบคทีเรียเหล่านี้ทำการเผาผลาญอาหารแล้วได้พลังงานคล้ายกับที่ได้จากการเผาผลาญโปรตีน สมองกับร่างกายจึงเข้าใจว่าได้รับโปรตีนเพียงพอแล้วเลยทำให้ลดความอยากอาหารจำพวกโปรตีนลง

          ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียในลำไส้มีผลต่อสมองในการเปลี่ยนแปลงอาหารที่สัตว์ต้องการจะกิน และเนื่องจากในแมลงหวี่มีแบคทีเรียหลัก ๆ อยู่ 5 สายพันธุ์ แต่ในมนุษย์มีแบคทีเรียอยู่หลายร้อยสายพันธุ์ ดังนั้นในร่างกายของมนุษย์เราก็อาจจะมีกลไกแบบเดียวกันด้วย


ที่มา: Neurosciencenews


Share:

0 comments:

แสดงความคิดเห็น