เมื่อวันที่ 19 - 20 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา ในอวกาศอันกว้างใหญ่เหนือโลกของเราเกิดปรากฏการณ์ดาวเคราะห์น้อยโคจรผ่านโลกเราในระยะใกล้ แต่เพื่อน ๆ ไม่ต้องห่วงว่ามันจะพุ่งเข้าชนโลกหรอก เพราะถ้ามันจะชนโลกจริง ป่านนี้คงไม่มีบทความนี้แล้วมั้ง (ฮา)
ดาวเคราะห์น้อยที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า 2014 JO25 นี้ถูกค้นพบครั้งแรกในเดือนพฤษภาคมปี 2014 โดยนักดาราศาสตร์จากโครงการสังเกตการณ์วัตถุใกล้โลกที่นาซ่าร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแอริโซนาจัดตั้งขึ้น ซึ่งเจ้าดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดประมาณ 620 เมตรนี่ได้โคจรผ่านโลกเราไปด้วยระยะห่าง 1.8 ล้านกิโลเมตร หรือประมาณ 4.6 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ถือเป็นวัตถุที่โคจรเข้ามาใกล้โลกที่สุดในรอบ 400 ปี และคาดว่ามันจะโคจรเข้ามาใกล้โลกในอีก 500 ปีข้างหน้า
จานรับดาวเทียมขนาด 70 เมตรของนาซาจับภาพดาวเคราะห์น้อย 2014 JO25 ได้ (เมื่อนำภาพที่จับได้มาทำให้เคลื่อนไหวก็จะได้ตามคลิปข้างบนเนี่ยแหละ) ซึ่งภาพแสดงดาวเคราะห์น้อยที่มีลักษณะคล้ายถั่วลิสงหมุนรอบทุก ๆ 5 ชั่วโมง โดยภาพมีความละเอียดสูงถึง 7.5 เมตรต่อพิกเซล
ถ้าในอีก 500 ปีข้างหน้าเจ้า 2014 JO25 โคจรมาทับเส้นทางของโลกละก็..... ไม่อยากจะคิดเล้ยยย แต่ก็นะ อีกตั้ง 500 ปีข้างหน้าแน่ะ ถึงตอนนั้นถ้ามนุษย์ไม่สูญพันธุ์ไปซะก่อนก็คงจะมีเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันได้แล้วมั้ง ไม่ก็สร้างกันดั้ม ขับขึ้นไปทำลายก่อนที่มันจะมาชนโลก (ฮา)
ที่มา: Sciencealert.com , Nasa.gov
0 comments:
แสดงความคิดเห็น