บทความนี้เป็นบทความสั้น ๆ ในการสร้างโปรเจค Android และตั้งค่า AVD หรือ Android Virtual Device Manager ซึ่งเป็น Emulator ที่ใช้สำหรับจำลองการทำงานของสมาร์ตโฟน Android เพื่อใช้ทดสอบแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android
อันดับแรกให้กรอกข้อมูลดังต่อไปนี้แล้วคลิกปุ่ม Next
- Application Name: ชื่อแอปพลิเคชันที่เราจะสร้าง
- Company domain: domain หรือเรียกง่าย ๆ ว่า URL ของเว็บนั่นเอง ใช้ในการสร้าง Package name *ชื่อ Package name คือชื่อรหัสประจำตัวของแอปฯ เกิดจากการนำ Application name กับ Company domain มารวมกัน ซึ่งจะต้องห้ามซ้ำกับของแอปพลิเคชันอื่น
- Project location: ตำแหน่งที่เก็บโปรเจค
เลือกว่าเราจะสร้างแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์ประเภทไหนและรองรับแอนดรอยด์ต่ำสุดเวอร์ชันเท่าไหร่ ข้างล่างตัวเลือกเวอร์ชันจะมีตัวเลขแสดง % จำนวนผู้ใช้งานที่รองรับ Android เวอร์ชันที่เลือก จากนั้นคลิกปุ่ม Next
เลือกเป็น Empty Activity แล้วคลิกปุ่ม Next
ในหน้าสุดท้ายนี้ให้ตั้งชื่อ Activity หลักที่จะทำงาน (ปล่อยเอาไว้ตามที่โปรแกรมตั้งค่ามาให้ก็ได้) จากนั้นก็คลิกปุ่ม Finish แล้วก็รอให้โปรแกรมสร้างโปรเจคขึ้นมาให้
การแสดงผลแบบ Android อาจจะดูยากไป สามารถเปลี่ยนให้แสดงผลเป็นแบบ Project น่าจะมองง่ายกว่า
เท่านี้ก็เหลือแค่สั่งรันแอปพลิเคชัน โปรเจค DummyApplication ก็จะเสร็จสมบูรณ์ (ซึ่งผลลัพธ์จะแสดงข้อความ Hello World บนหน้าจอ) ถึงเราจะเขียนแอปพลิเคชันแอนดรอยด์ในคอมพิวเตอร์ แต่การจะรันแอปพลิเคชันแอนดรอยด์ก็ต้องรันบนอุปกรณ์แอนดรอยด์อยู่ดี ซึ่งวิธีรันแอปพลิเคชันแอนดรอยด์มี 2 วิธี ได้แก่ รันผ่านอุปกรณ์แอนดรอยด์ (โทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์นั่นเอง) และ รันผ่านอุปกรณ์แอนดรอยด์เสมือน (Android Virtual Device)
รันผ่านอุปกรณ์แอนดรอยด์
วิธีที่ใช้ในการรันแอปพลิเคชันแอนดรอยด์ แน่นอนว่าหนีไม่พ้นการใช้มือถือแอนดรอยด์จริง ๆ ในการทดสอบ แต่สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนคือการเปิดโหมด Developer ในมือถือแอนดรอยด์ซะก่อน ซึ่งเจ้าโหมดนี้อาจจะหายากสักนิด ผู้ใช้มือถือทั่วไปอาจจะหาวิธีเปิดไม่เจอ แต่ไม่เป็นไร เรามาดูกันดีกว่าว่าจะเปิดโหมด Developer ยังไง เริ่มจากเปิดหน้า Setting
เข้าไปที่ About phone
ในหน้า About phone ให้เลื่อนลงมาหา Build number จากนั้นก็กดลงไป 7 ครั้ง ระบบจะแจ้งข้อความว่า "You are now a developer!"
แค่นี้เมนู Developer options ก็จะปรากฎออกมาให้ยลโฉมแล้ว จะรอช้าอยู่ไย .....กดเข้าไปเล้ยยยยย
ในเมนู Developer options ให้เราเปิดใช้งานตัวเลือก USB debugging
เมื่อเราเอาโทรศัพท์เสียบสาย USB เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะขึ้นหน้าจอแจ้งเตือนแบบนี้ ให้กด "Always allow from this computer" จากนั้นก็กด OK โล้ด!!
ทีนี้เรามาลองรันแอปพลิเคชันกันเล้ย กดที่ไอคอน Run 'app' (Shift + F10)
เลือกที่โทรศัพท์ของเราแล้วคลิกปุ่ม OK
ที่เครื่องโทรศัพท์ของเราก็จะแสดงหน้าจอดังภาพ .....เป็นอันเรียบร้อย
รันผ่านอุปกรณ์แอนดรอยด์เสมือน
กดที่ไอคอน ADV Manager
กด Create Virtual Devices
หน้านี้จะให้เราเลือกสเปคอุปกรณ์เสมือน เช่น ขนาดหน้าจอ หน่วยความจำ เป็นต้น โดยข้อมูลที่มีมาให้จะเป็นของเครื่อง Nexus ทั้งหมด (ถ้าเราต้องการใส่ข้อมูลเครื่องเอง ให้กด New Hardware Profile) เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Next
เลือกระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์เสมือน จากนั้นกด Next
ตั้งชื่อและค่าเริ่มต้นอุปกรณ์เสมือนจากนั้นคลิกปุ่ม Finish
ก็จะได้ผลลัพธ์ประมาณนี้
แต่เดี๋ยวก่อน! สังเกตเห็นคำเตือนที่ว่า "VT-x is disabled in BIOS." กันหรือเปล่าเอ่ย เจ้าคำเตือนนี้บอกว่าฟีเจอร์ของ Virtualized ใน BIOS ถูกปิดการทำงานอยู่ เลยทำให้ไม่สามารถจำลองอุปกรณ์เสมือนได้ แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะบทความก่อนหน้านี้เราได้ทำการเปิดการทำงานในส่วนนี้ไปแล้ว (ถ้าใครที่เจอปัญหานี้อยู่สามารถย้อนกลับไปอ่านบทความ วิธีเปิดการทำงานของ Virtualization Technology ใน BIOS ก่อนได้เลยจ้าาาาา)
กด Launch ได้เลย ตรงนี้เครื่องจะใช้เวลาในการสร้างอุปกรณ์จำลองสักนิด
ได้แล้ว!!!
ทีนี้เรามาลองรันแอปพลิเคชันกันเล้ย กดที่ไอคอน Run 'app' (Shift + F10)
เลือกอุปกรณ์เสมือนที่เราได้สร้างไว้แล้วกดปุ่ม OK
แอปพลิเคชันขึ้นมาแล้ว ได้ผลลัพธ์เหมือนกับที่แสดงผลในโทรศัพท์เลย
ในบทความนี้เราได้ลองสร้างโทรศัพท์เสมือน อีกทั้งยังได้ทำการทดสอบรันแอปพลิเคชันแรกทั้งในโทรศัพท์จริงและโทรศัพท์เสมือน ซึ่งทำให้เราได้เรียนรู้วิธีกดรันแอปพลิเคชันที่จะได้ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันต่อไป ซึ่งผมก็ขอจบบทความลงเพียงเท่านี้ พบกันใหม่บทความหน้า บ๊ายบาย
0 comments:
แสดงความคิดเห็น