วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

วิธีเพิ่ม Facebook Messenger ลงในเว็บไซต์


          ในยุคที่การติดต่อสื่อสารทำได้อย่างง่ายนี้ สิ่งหนึ่งที่เว็บไซต์ (...โดยเฉพาะเว็บไซต์ขายของ) ควรจะมีนั่นก็คือช่องทางติดต่อ เวลาที่ผู้ใช้งานเว็บไซต์เกิดข้อสงสัยและอยากติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์แต่กลับหาวิธีติดต่อไม่เจอ ก็จะทำให้ผู้ใช้ไม่อยากกลับเข้ามาใช้เว็บไซต์ของเราอีก ทางออกที่ง่ายที่สุดคือการใส่ข้อมูลช่องทางติดต่อลงไปในเว็บ แต่มันคงจะดีกว่ามั๊ย ถ้าผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับเราผ่านทางเว็บไซต์ได้เลยโดยไม่ต้องออกจากเว็บ ซึ่งวิธีที่ว่านั่นก็คือการติด Live Chat เข้าไปในเว็บไซต์นั่นเอง

          ในปัจจุบันมี Live Chat มากมายให้เลือกใช้ ทั้งตัวที่ฟรีและตัวที่เสียเงิน ซึ่งทาง Facebook เองก็ไม่ยอมน้อยหน้า ส่งตัว Customer Chat Plugin ออกมาให้พวกเราเหล่านักพัฒนานำไปติดตั้งในเว็บไซต์ได้โดยไม่เสียค่าบริการ ถือเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเจ้า Plugin ตัวนี้จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อ Facebook Page ได้ผ่านหน้าเว็บไซต์ ซึ่งแน่นอนว่าเว็บไซต์ที่จะใช้ Plugin ตัวนี้จำเป็นต้องมี Facebook Page ก่อน

          เอาล่ะ! หลังจากที่เกริ่นกันมาสักพักแล้ว เรามาเริ่มติดตั้ง Facebook Messenger กันเลยดีกว่า


          อันดับแรกให้เข้าไปที่ Facebook Page จากนั้นคลิกเมนู About ที่แถบเมนูด้านซ้าย


          เลื่อนลงมาข้างล่างจนเจอ Page ID แล้วให้ copy Page ID เก็บเอาไว้ จากนั้นก็คลิกที่เมนู Setting ที่อยู่มุมบนขวา


          ในหน้า Setting ให้คลิกเมนู Messenger platform ที่อยู่ตรงแถบเมนูซ้ายมือ


          เลื่อนลงมาจนเจอส่วน White-listed domains จากนั้นก็ให้กรอก URL ของเว็บไซต์ที่จะติดตั้ง Live Chat ลงไป แล้วคลิกปุ่ม Save


          จากนั้นให้เลื่อนลงไปจนเจอ Customer chat plugin แล้วคลิกปุ่ม Set Up


          ระบบจะแสดงหน้าสำหรับตั้งค่าขึ้นมา ให้คลิกปุ่ม Next เพื่อเริ่มดำเนินการตั้งค่าได้เลย


          ในหน้าการตั้งค่านี้ เราสามารถแก้ไขข้อความต้อนรับ โดยในแถบด้านซ้ายจะมีตัวเลือกภาษากับข้อความต้อนรับ ให้เราเปลี่ยนได้ตามใจชอบ ซึ่งในแถบด้านขวาจะมีการแสดงผลการตั้งค่าแบบ real time อยู่ เมื่อเปลี่ยนแล้วเรียบร้อยแล้วก็ให้คลิกปุ่ม Next เพื่อไปขั้นตอนถัดไป


          ถัดไปเป็นการตั้งค่าสี Theme และระยะเวลาที่เราจะตอบกลับ (response time) ผู้ใช้งาน เพื่อเป็นการแจ้งผู้ใช้งานว่าเราจะตอบทันที หรืออาจจะต้องรอนิดหน่อย เมื่อตั้งค่าตามใจชอบแล้วก็คลิกปุ่ม Next เพื่อไปสู่การตั้งค่าหน้าสุดท้าย


          หน้านี้จะแสดงโค้ดให้เรา copy ไปติดตั้งในเว็บไซต์ โดยส่วนด้านซ้ายจะมีช่องให้เรากรอก URL ของเว็บที่จะติดตั้ง Plugin ตัวนี้เพิ่มเติม หลังจาก copy โค้ดเสร็จแล้วก็ให้คลิก Finish เพื่อปิดหน้าการตั้งค่า


          เย่! เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพียงแค่คลิกนู่นคลิกนี่แล้วก็ copy โค้ดมาแปะก็ได้ Live Chat ในหน้าเว็บไซต์แล้ว ไม่ยากเลยใช่ม่ะ..... เพื่อน ๆ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Customer Chat Plugin

ไฟล์โค้ด: AiNoTsubasa's Github


Share:

0 comments:

แสดงความคิดเห็น