วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561

วิธีใช้ Message objects เพิ่มลูกเล่นในการตอบกลับของ Line บน Dialogflow ด้วย Custom payload


          ในบทความก่อนหน้านี้ เราได้ทำการ integrate Line เข้ากับ Dialogflow ไปแล้ว ส่งผลให้ความสะดวกสบายในการคัดกรองข้อความเพิ่มขึ้น แต่กระนั้นก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ นั่นคือ Responses ของ Dialogflow ไม่สามารถส่งสติกเกอร์ตอบกลับได้..... "อ้าว! แล้วถ้าเราอยากส่งสติกเกอร์ตอบกลับล่ะ จะทำยังไงดี" .....ไม่เป็นไรทาง Dialogflow มีเปิดช่องทาง Custom payload ให้เราได้ customize ข้อความตอบกลับด้วย JSON เพื่อปรับเปลี่ยนข้อความตอบกลับให้ตรงตาม API ของแต่ละ platform นั่นเอง

          เรามาลองใช้งาน Custom payload กัน ให้เข้าไปที่ https://dialogflow.com/ แล้วเลือก Agent ที่ได้สร้างไว้แล้วในบทความก่อนหน้านี้ จากนั้นก็คลิกไปที่ "Default Welcome Intent" แล้วเลื่อนลงมาในส่วนของ Response


          เจ้า Custom payload จะอยู่ในส่วนของ Responses ให้คลิกปุ่ม ADD RESPONSE แล้วเลือก Custom payload ก็จะมีพื้นที่ว่าง ๆ ขึ้นมา และจาก docs ของ LINE Messaging API รูปแบบของ JSON ที่ใช้ตอบกลับในประเภทข้อความเป็นดังนี้

{     
    "type": "text",     
    "text": "Hello, world" 
}
โดย "type" คือประเภทของการตอบกลับ ใน docs ของ LINE Messaging API จะแบ่งประเภทการตอบกลับออกเป็นประเภทต่าง ๆ ซึ่งจะพูดถึงภายหลังในส่วนของ Message objects และ "text" คือข้อความที่จะตอบกลับ ให้เราใส่ JSON ดังต่อไปนี้ลงไป

{
  "line": {
    "type": "text",
    "text": "สวัสดี นี่คือคำทักทายจาก Dialogflow (Custom payload)"
  }
}
จากการสังเกต จะเห็นว่า JSON ที่เราเพิ่มลงไปในช่อง Custom payload จะอยู่ข้างใน key "line" อีกที เป็นการบอกให้ Dialogflow รู้ว่านี่เป็น response สำหรับ LINE เท่านั้น เมื่อพิมพ์ JSON เสร็จ ให้คลิกปุ่ม SAVE แล้วลองทดสอบด้วยการพิมพ์ว่า "สวัสดี"


ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นข้อความ "สวัสดี นี่คือคำทักทายจาก Dialogflow" และ "สวัสดี นี่คือคำทักทายจาก Dialogflow (Custom payload)" โดยข้อความแรกมาจาก Text response และข้อความที่สองมาจาก Custom payload .....ว่าแต่เมื่อกี้เพื่อน ๆ สังเกตเห็นอะไรกันหรือเปล่าเอ่ย ข้าง ๆ แถบ DEFAULT มีแถบ LINE อยู่


          เมื่อคลิกไปที่แถบ LINE แล้ว ก็จะมีตัวเลือกรูปแบบข้อความตอบกลับให้ 5 ตัวเลือก ได้แก่
  • Text response: เป็นการตอบกลับด้วยข้อความ ซึ่งจะมีช่องให้กรอกข้อความที่จะใช้ในการตอบกลับผู้ใช้ เหมือนกับในแถบ DEFAULT
  • Image: เป็นการตอบกลับด้วยรูป โดยจะมีช่องให้กรอก URL ของไฟล์รูป
  • Card: เป็นการตอบกลับด้วยการ์ด ซึ่งจะมีช่องให้กรอก URL ของไฟล์รูปที่ใช้เป็นรูปของการ์ด, ช่องให้กรอก Card Title, ช่องให้กรอก Card Subtitle, ช่องให้กรอกข้อความของปุ่ม (รายละเอียดอยู่ในส่วนของ Message objects ข้างล่าง)
  • Quick replies: เป็นการตอบกลับด้วยข้อความพร้อมทั้งปุ่ม (รายละเอียดอยู่ในส่วนของ Message objects ข้างล่าง)
  • Custom payload
ซึ่งเป็นการเพิ่มความง่ายในการตอบกลับข้อความของ LINE (มีตัวเลือก Custom payload ให้ด้วย) เพราะมีเป็น Template ให้อยู่แล้ว ทำให้เราไม่ต้องสร้าง JSON ขึ้นมาใหม่


LINE Message objects


          อย่างที่กล่าวไว้เมื่อตอนต้นว่า LINE Message object แบ่งประเภทการตอบกลับออกเป็นประเภทต่าง ๆ แต่ละประเภทก็จะมีจุดประสงค์การใช้ที่แตกต่างกันไป เช่น สติกเกอร์ หรือพิกัดตำแหน่ง เป็นต้น ซึ่งเราสามารถสร้าง Message object ได้จาก JSON รูปแบบต่าง ๆ ตามที่ทาง LINE กำหนดไว้ จากนั้นก็เอาไปใส่ไว้ใน Custom payload ภายใต้ key "line" ตามที่ได้ลองทำเมื่อสักครู่ .....ว่าแล้วเราก็มาดู Message objects แต่ละประเภทกันเลยดีกว่า ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทการตอบกลับออกได้เป็นดังนี้


Text message


          เริ่มจากพื้นฐานสุด ๆ ที่ Text message หรือก็คือการตอบกลับประเภทข้อความ ซึ่งเป็นการตอบกลับด้วยข้อความธรรมดา ๆ โดยจะมีหน้าตา JSON ดังต่อไปนี้

{
  "line": {
    "type": "text",
    "text": "นี่คือข้อความตอบกลับของ Text message"
  }
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ text
  • text: ข้อความที่แสดง สูงสุด 2,000 ตัวอักษร


Image message


          Image message เป็นการตอบกลับด้วยรูป โดยจะใช้ JSON ที่มีรูปแบบดังต่อไปนี้

{
  "line": {
    "type": "image",
    "originalContentUrl": "https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjq9glxf1PI7p2RxnPHpL3oUiFgXW8Xhd1saDLw2xLsF3vZunZpGPW-UwPpEffmGhTRWoZ64HHY1VeljF0uDuGn6Lve2ncoTSZY4sl2L0ibbDlpojgUa0llhv7WnrVLkXX6tln7NLg-FkZI/s1600/sao-full.jpg",
    "previewImageUrl": "https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgvXWIsA2ka3azOhyeXwvizWjyz0sTiYhBuxFuQ451rXCKyX5wbIl47CIOKz8jk8pcKOC8kiriAIHTFo-zKkcO8Ied4vysq9Na00dlWfBksUMFxDdwSsYTrkjXyG-JGp5GcjgLJLjzmFerk/s1600/sao-preview.jpg"
  }
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ image
  • originalContentUrl: Url ของไฟล์รูปภาพต้นฉบับที่มีจำนวนตัวอักษรไม่เกิน 1,000 ตัวอักษร เป็น HTTPS และมีขนาดไม่เกิน 1 MB
  • previewImageUrl: Url ของไฟล์รูปภาพที่ใช้แสดงซึ่งมีจำนวนตัวอักษรไม่เกิน 1,000 ตัวอักษร เป็น HTTPS และมีขนาดไม่เกิน 1 MB


Sticker message


          Sticker message เป็นการตอบกลับด้วยสติกเกอร์อันน่ารักของ LINE แต่มีข้อจำกัดตรงที่สติกเกอร์ที่ใช้ในการตอบกลับนั้นต้องเป็นสติกเกอร์ที่สร้างโดย LINE เท่านั้น ไม่สามารถใช้สติกเกอร์ของ Creator คนอื่น ๆ ได้ โดยมีรูปแบบ JSON ดังต่อไปนี้

{
  "line": {
    "type": "sticker",
    "packageId": "1",
    "stickerId": "1"
  }
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ sticker
  • packageId: รหัสแพ็กเกจของสติกเกอร์ที่ต้องการส่ง ดูได้จากที่นี่
  • stickerId: รหัสของสติกเกอร์ที่ต้องการส่ง ดูได้จากที่นี่


Video message


          Video message เป็นการตอบกลับด้วยคลิปวิดีโอสั้น ๆ มีรูปแบบ JSON ดังต่อไปนี้

{
  "line": {
    "type": "video",
    "originalContentUrl": "https://s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/dezpax/b_files/video_example.mp4",
    "previewImageUrl": "https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgvXWIsA2ka3azOhyeXwvizWjyz0sTiYhBuxFuQ451rXCKyX5wbIl47CIOKz8jk8pcKOC8kiriAIHTFo-zKkcO8Ied4vysq9Na00dlWfBksUMFxDdwSsYTrkjXyG-JGp5GcjgLJLjzmFerk/s1600/sao-preview.jpg"
  }
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ video
  • originalContentUrl: Url ของไฟล์วิดีโอที่มีจำนวนตัวอักษรไม่เกิน 1,000 ตัวอักษร เป็น HTTPS และมีขนาดไม่เกิน 10 MB
  • previewImageUrl: Url ของไฟล์รูปภาพที่ใช้แสดงซึ่งมีจำนวนตัวอักษรไม่เกิน 1,000 ตัวอักษร เป็น HTTPS และมีขนาดไม่เกิน 1 MB


Audio message


          Audio message เป็นการตอบกลับด้วยเสียงสั้น ๆ มีรูปแบบ JSON ดังต่อไปนี้

{
  "line": {
    "type": "audio",
    "originalContentUrl": "https://s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/dezpax/b_files/audio_example.m4a",
    "duration": 10000
  }
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ audio
  • originalContentUrl: Url ของไฟล์เสียงที่มีจำนวนตัวอักษรไม่เกิน 1,000 ตัวอักษร เป็น HTTPS และมีขนาดไม่เกิน 10 MB
  • duration: ความยาวของไฟล์เสียง หน่วยเป็น milliseconds ( 1 วินาที = 1,000 milliseconds )


Location message


          Location message เป็นการตอบกลับด้วยพิกัดตำแหน่งที่อยู่ แสดงชื่อสถานที่และที่อยู่ของสถานที่นั้น ๆ เมื่อคลิกก็จะเป็นการเปิดแผนที่ใน LINE ขึ้นมา พร้อมทั้งปักหมุดพิกัดสถานที่นั้นให้โดยอัตโนมัติ มีรูปแบบ JSON ดังต่อไปนี้

{
  "line": {
    "type": "location",
    "title": "เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว",
    "address": "1693 ถนนพหลโยธิน แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900",
    "latitude": 13.8164458,
    "longitude": 100.558962
  }
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ location
  • title: ชื่อสถานที่
  • address: ที่อยู่ของสถานที่นั้น ๆ
  • latitude: ตำแหน่งละติจูดของสถานที่นั้น ๆ
  • longitude: ตำแหน่งลองจิจูดของสถานที่นั้น ๆ


Imagemap message


          Imagemap message เป็นการตอบกลับด้วยรูป ซึ่งเราสามารถฝัง action ลงไปในรูปได้ แต่มีข้อเสียนิดหน่อยตรงที่เราจะต้องออกแบบรูปโดยแบ่งพื้นที่ของแต่ละ action เอาเอง จากรูปตัวอย่างจะเป็นการแบ่งรูปออกเป็นสองฝั่ง เมื่อแตะฝั่งซ้ายจะเปิดหน้าเว็บ ส่วนฝั่งขวาจะเป็นการส่งข้อความว่า "Hello" เข้าไปในห้องพูดคุย โดย JSON ที่ใช้มีรูปแบบดังต่อไปนี้

{
  "line": {
    "type": "imagemap",
    "baseUrl": "https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjq9glxf1PI7p2RxnPHpL3oUiFgXW8Xhd1saDLw2xLsF3vZunZpGPW-UwPpEffmGhTRWoZ64HHY1VeljF0uDuGn6Lve2ncoTSZY4sl2L0ibbDlpojgUa0llhv7WnrVLkXX6tln7NLg-FkZI/s1600/",
    "altText": "This is an imagemap",
    "baseSize": {
      "height": 1040,
      "width": 1040
    },
    "actions": [
      {
        "type": "uri",
        "linkUri": "https://www.google.com/",
        "area": {
          "x": 0,
          "y": 0,
          "width": 512,
          "height": 731
        }
      },
      {
        "type": "message",
        "text": "Hello",
        "area": {
          "x": 512,
          "y": 0,
          "width": 512,
          "height": 731
        }
      }
    ]
  }
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ imagemap
  • baseUrl: Url ของไฟล์รูปภาพ ควรทำให้สามารถเข้าถึงภาพ 5 ขนาดได้ (240px, 300px, 460px, 700px, 1040px) โดยใช้รูปแบบ baseUrl/{image width} (เช่น https://1.bp.blogspot.com/-U90M8DyKu7Q/W9EtONMCf6I/AAAAAAAAW_4/7L_jB_Rg9oweu2HKhULNdu9WNefw9zf9wCLcBGAs/s1600/ เป็นต้น) ซึ่ง LINE จะเลือกโหลดขนาดภาพให้เหมาะสมกับอุปกรณ์เอง
  • altText: ข้อความของรูปภาพ จำนวนตัวอักษรสูงสุด 400 ตัวอักษร
  • baseSize: ขนาดของรูปภาพ
    • width: ความกว้างของรูปภาพ ให้เซ็ตเป็น 1040
    • height: ความสูงของรูปภาพ ให้เซ็ตเป็น 1040
  • actions: อาร์เรย์ actions ของ Imagemap โดยเราสามารถใส่ action ได้มากสุด 50 actions
    • type: ประเภทของ action ได้แก่ uri หรือ message ถ้ากำหนดเป็น uri นั่นหมายถึง เมื่อกดที่ action นี้แล้วก็จะทำการเปิดเว็บขึ้นมา และถ้ากำหนดเป็น message นั่นหมายถึง เมื่อกดที่ action นี้แล้วจะทำการส่งข้อความกลับมาให้ bot
    • label: ป้ายกำกับของ action
    • linkUri: Url ของเว็บ ใช้ในกรณีที่กำหนด type = uri
    • text: ข้อความที่จะทำการส่งกลับมาให้ bot ใช้ในกรณีที่กำหนด type = message
    • area: พื้นที่สำหรับ action
      • x: ตำแหน่งแนวนอนนับจากมุมบนซ้ายของพื้นที่
      • y: ตำแหน่งแนวตั้งนับจากมุมบนซ้ายของพื้นที่
      • width: ความกว้างของพื้นที่ action
      • height: ความสูงของพื้นที่ action


Template messages

          Template messages คือ ข้อความที่มีรูปแบบตามที่ LINE กำหนดเอาไว้แล้ว ซึ่งเราสามารถปรับแต่งเพื่อให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับ bot ได้ง่ายขึ้น ซึ่ง LINE แบ่งประเภทของเทมเพลตออกเป็นดังนี้


          Buttons template เทมเพลตที่ประกอบไปด้วยรูปภาพ ชื่อ ข้อความ และปุ่มการดำเนินการหลายปุ่ม โดยใช้ JSON ที่มีรูปแบบดังต่อไปนี้

{
  "line": {
    "type": "template",
    "altText": "This is a buttons template",
    "template": {
        "type": "buttons",
        "thumbnailImageUrl": "https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjq9glxf1PI7p2RxnPHpL3oUiFgXW8Xhd1saDLw2xLsF3vZunZpGPW-UwPpEffmGhTRWoZ64HHY1VeljF0uDuGn6Lve2ncoTSZY4sl2L0ibbDlpojgUa0llhv7WnrVLkXX6tln7NLg-FkZI/s1600/sao-full.jpg",
        "imageAspectRatio": "rectangle",
        "imageSize": "cover",
        "imageBackgroundColor": "#FFFFFF",
        "title": "แผ่นเกม Sword Art Online",
        "text": "กรุณาเลือก",
        "defaultAction": {
            "type": "uri",
            "label": "View detail",
            "uri": "https://www.google.com"
        },
        "actions": [
            {
              "type": "postback",
              "label": "สั่งซื้อ",
              "data": "action=buy&itemid=123"
            },
            {
              "type": "postback",
              "label": "เพิ่มลงรถเข็น",
              "data": "action=add&itemid=123"
            },
            {
              "type": "uri",
              "label": "อ่านรายละเอียด",
              "uri": "https://www.google.com"
            }
        ]
    }
  }
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ template
  • altText: ข้อความกำกับของ template จำนวนตัวอักษรสูงสุด 400 ตัวอักษร
  • template:
    • type: ประเภทของ template ในที่นี้คือ buttons
    • thumbnailImageUrl: Url ของไฟล์รูปภาพที่มีจำนวนตัวอักษรไม่เกิน 1,000 ตัวอักษร เป็น HTTPS และมีขนาดไม่เกิน 1 MB
    • imageAspectRatioอัตราส่วนของภาพ มีค่าเป็น rectangle (สี่เหลี่ยมผืนผ้า) หรือ square (สี่เหลี่ยมจตุรัส)
    • imageSize: ขนาดของรูปภาพ มีค่าเป็น cover หรือ contain
    • imageBackgroundColor: สีพื้นหลังของรูปภาพ
    • title: หัวเรื่อง จำนวนตัวอักษรสูงสุด 40 ตัวอักษร
    • text: ข้อความ กรณีที่ไม่มีหัวเรื่องหรือรูปภาพ สามารถใส่ได้สูงสุด 160 ตัวอักษร แต่ถ้ามีหัวเรื่องหรือรูปภาพจะใส่ได้สูงสุด 60 ตัวอักษร
    • defaultAction: action ที่จะทำงานเมื่อรูปภาพถูกกด (อ่านรายละเอียดของ action เพิ่มเติมในส่วนของ Action objects)
    • actions: อาร์เรย์ของ action ที่จะทำงานเมื่อถูกกด ใส่ได้มากสุด 4 actions  (อ่านรายละเอียดของ action เพิ่มเติมในส่วนของ Action objects)
....................


          Confirm template เทมเพลตที่ประกอบไปปุ่มการดำเนินการสองปุ่ม โดยใช้ JSON ที่มีรูปแบบดังต่อไปนี้

{
  "line": {
    "type": "template",
    "altText": "this is a confirm template",
    "template": {
      "type": "confirm",
      "text": "ต้องการที่จะลบข้อมูลหรือไม่?",
      "actions": [
        {
          "type": "message",
          "label": "ใช่",
          "text": "ใช่"
        },
        {
          "type": "message",
          "label": "ไม่",
          "text": "ไม่"
        }
      ]
    }
  }
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ template
  • altText: ข้อความกำกับของ template จำนวนตัวอักษรสูงสุด 400 ตัวอักษร
  • template:
    • type: ประเภทของ template ในที่นี้คือ confirm
    • text: ข้อความ จำนวนตัวอักษรสูงสุด 240 ตัวอักษร
    • actions: อาร์เรย์ของ action ที่จะทำงานเมื่อถูกกด ใส่ได้มากสุด 2 actions (อ่านรายละเอียดของ action เพิ่มเติมในส่วนของ Action objects)
....................


          Carousel template เทมเพลตที่มีหลายคอลัมน์ ซึ่งแต่ละคอลัมน์จะประกอบไปด้วยรูปภาพ ชื่อ ข้อความ และปุ่มการดำเนินการหลายปุ่ม หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเทมเพลตที่มี Buttons template หลาย ๆ ตัว มีการแสดงผลตามลำดับโดยการเลื่อนไปตามแนวนอน โดยใช้ JSON ที่มีรูปแบบดังต่อไปนี้

{
  "line": {
    "type": "template",
    "altText": "this is a carousel template",
    "template": {
      "type": "carousel",
      "imageAspectRatio": "rectangle",
      "imageSize": "cover",
      "columns": [
        {
          "thumbnailImageUrl": "https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjq9glxf1PI7p2RxnPHpL3oUiFgXW8Xhd1saDLw2xLsF3vZunZpGPW-UwPpEffmGhTRWoZ64HHY1VeljF0uDuGn6Lve2ncoTSZY4sl2L0ibbDlpojgUa0llhv7WnrVLkXX6tln7NLg-FkZI/s1600/sao-full.jpg",
          "imageBackgroundColor": "#FFFFFF",
          "title": "แผ่นเกม Sword Art Online",
          "text": "แผ่นเกม Sword Art Online",
          "defaultAction": {
            "type": "uri",
            "label": "รายละเอียด",
            "uri": "https://www.google.com/"
          },
          "actions": [
            {
              "type": "postback",
              "label": "สั่งซื้อ",
              "data": "action=buy&itemid=111"
            },
            {
              "type": "postback",
              "label": "เพิ่มลงรถเข็น",
              "data": "action=add&itemid=111"
            },
            {
              "type": "uri",
              "label": "รายละเอียด",
              "uri": "https://www.google.com/"
            }
          ]
        },
        {
          "thumbnailImageUrl": "https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEibVSKKr0uN4_y_UPxK7jk3cP6xB9ERt1OZ_efvW7t40lhiV8xsCakvoYcqy1_3aQMNQHy3f1AX7p9KqBMiWHEVK60QJc3nDFe1FkJP8qPSvImtP7Vq0JSAEt_6HZ3a2jVC1ZRLdYUufulM/s1600/sao-os.jpg",
          "imageBackgroundColor": "#FFFFFF",
          "title": "Sword Art Online Ordinal Scale",
          "text": "Sword Art Online Ordinal Scale",
          "defaultAction": {
            "type": "uri",
            "label": "รายละเอียด",
            "uri": "https://www.google.com/"
          },
          "actions": [
            {
              "type": "postback",
              "label": "สั่งซื้อ",
              "data": "action=buy&itemid=111"
            },
            {
              "type": "postback",
              "label": "เพิ่มลงรถเข็น",
              "data": "action=add&itemid=111"
            },
            {
              "type": "uri",
              "label": "รายละเอียด",
              "uri": "https://www.google.com/"
            }
          ]
        }
      ]
    }
  }
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ template
  • altText: ข้อความกำกับของ template จำนวนตัวอักษรสูงสุด 400 ตัวอักษร
  • template:
    • type: ประเภทของ template ในที่นี้คือ carousel
    • imageAspectRatioอัตราส่วนของภาพ มีค่าเป็น rectangle (สี่เหลี่ยมผืนผ้า) หรือ square (สี่เหลี่ยมจตุรัส)
    • imageSize: ขนาดของรูปภาพ มีค่าเป็น cover หรือ contain
    • columns: อาร์เรย์ของ column ใส่ได้มากสุด 10 column
      • thumbnailImageUrl: Url ของไฟล์รูปภาพที่มีจำนวนตัวอักษรไม่เกิน 1,000 ตัวอักษร เป็น HTTPS และมีขนาดไม่เกิน 1 MB
      • imageBackgroundColor: สีพื้นหลังของรูปภาพ
      • title: หัวเรื่อง จำนวนตัวอักษรสูงสุด 40 ตัวอักษร
      • text: ข้อความ กรณีที่ไม่มีหัวเรื่องหรือรูปภาพ สามารถใส่ได้สูงสุด 160 ตัวอักษร แต่ถ้ามีหัวเรื่องหรือรูปภาพจะใส่ได้สูงสุด 60 ตัวอักษร
      • defaultAction: action ที่จะทำงานเมื่อรูปภาพถูกกด (อ่านรายละเอียดของ action เพิ่มเติมในส่วนของ Action objects)
      • actions: อาร์เรย์ของ action ที่จะทำงานเมื่อถูกกด ใส่ได้มากสุด 4 actions (อ่านรายละเอียดของ action เพิ่มเติมในส่วนของ Action objects)
....................


          Image carousel template เทมเพลตที่มีรูปภาพหลายรูป มีการแสดงผลตามลำดับโดยการเลื่อนไปตามแนวนอน โดยใช้ JSON ที่มีรูปแบบดังต่อไปนี้

{
  "line": {
    "type": "template",
    "altText": "this is a image carousel template",
    "template": {
      "type": "image_carousel",
      "columns": [
        {
          "imageUrl": "https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjq9glxf1PI7p2RxnPHpL3oUiFgXW8Xhd1saDLw2xLsF3vZunZpGPW-UwPpEffmGhTRWoZ64HHY1VeljF0uDuGn6Lve2ncoTSZY4sl2L0ibbDlpojgUa0llhv7WnrVLkXX6tln7NLg-FkZI/s1600/sao-full.jpg",
          "action": {
            "type": "postback",
            "label": "สั่งซื้อ",
            "data": "action=buy&itemid=111"
          }
        },
        {
          "imageUrl": "https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEibVSKKr0uN4_y_UPxK7jk3cP6xB9ERt1OZ_efvW7t40lhiV8xsCakvoYcqy1_3aQMNQHy3f1AX7p9KqBMiWHEVK60QJc3nDFe1FkJP8qPSvImtP7Vq0JSAEt_6HZ3a2jVC1ZRLdYUufulM/s1600/sao-os.jpg",
          "action": {
            "type": "message",
            "label": "ตกลง",
            "text": "ตกลง"
          }
        },
        {
          "imageUrl": "https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiDnf6GMcW7s9i9uBie9tQZBaepFr6hTOVozf97hmq1w-XC3gEfsZn-EILsLKjpBihd-scR3kdXGJY6iXa2LnTFtXmz5ajoQP_9YtxC1au4aFGmyYGir8b0ZV4B1laG1ZBndVd74BOoDrcf/s1600/saohr-cover-image.jpg",
          "action": {
            "type": "uri",
            "label": "อ่านรายละเอียด",
            "uri": "https://www.google.com/"
          }
        }
      ]
    }
  }
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ template
  • altText: ข้อความกำกับของ template จำนวนตัวอักษรสูงสุด 400 ตัวอักษร
  • template:
    • type: ประเภทของ template ในที่นี้คือ image_carousel
    • columns: อาร์เรย์ของ column ใส่ได้มากสุด 10 column
      • imageUrl: Url ของไฟล์รูปภาพที่มีจำนวนตัวอักษรไม่เกิน 1,000 ตัวอักษร เป็น HTTPS และมีขนาดไม่เกิน 1 MB
      • actions: action ที่จะทำงานเมื่อรูปภาพถูกกด  (อ่านรายละเอียดของ action เพิ่มเติมในส่วนของ Action objects)


Flex message


          Flex Message คือ ข้อความที่เปิดให้นักพัฒนาสามารถออกแบบหน้าตาของข้อความได้อย่างอิสระ แตกต่างจาก Template messages ตรงที่ Template messages จะมีรูปแบบตายตัว ถึงจะมีส่วนที่เราสามารถปรับแต่งได้ แต่โดยรวมก็ยังอยู่ในรูปแบบตามที่ LINE กำหนด เช่น ตำแหน่งของรูปภาพจะต้องอยู่ข้างบนสุด ตามด้วยข้อความ จากนั้นจึงจะเป็นปุ่มที่อยู่อันดับล่างสุด เป็นต้น ซึ่งเราไม่สามารถแก้ไขตำแหน่งเหล่านั้นได้ แต่ Flex Message เปิดให้เราสามารถออกแบบข้อความได้ตามใจชอบ สามารถกำหนดให้ตำแหน่งของรูปอยู่ข้างล่างข้อความได้

          เนื่องจากความอิสระของ Flex Message ทำให้ JSON ค่อนข้างมีความซับซ้อน ซึ่งผมขอแนะนำให้เพื่อน ๆ ไปอ่านรายละเอียด รวมถึงวิธีการสร้าง JSON ของ Flex Message เพิ่มเติมที่บทความ "ฉีกกฎการแสดงผลข้อความแบบเดิมๆใน LINE Messaging API ด้วย Flex Messag" ของคุณ Jirawatee ครับ


Action objects

          ประเภทของ action ที่ bot สามารถใช้งานได้เมื่อผู้ใช้แตะปุ่มหรือรูปภาพในข้อความ เช่น เปิดเว็บ เปิดกล้อง หรือแสดงตำแหน่งบนแผนที่ เป็นต้น โดยแบ่งประเภทของ action ออกได้เป็น


          Postback action เมื่อตัวควบคุมที่เกี่ยวข้องกับ Postback action ถูกแตะก็จะทำการส่งค่ากลับไปยัง webhook ด้วยค่าที่ระบุใน data โดย JSON ของการกระทำนี้จะมีหน้าตาประมาณนี้

{  
   "type":"postback",
   "label":"สั่งซื้อ",
   "data":"action=buy&itemid=123",
   "displayText":"สั่งซื้อ"
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ postback
  • label: ข้อความกำกับของ action
  • data: ค่าที่จะส่งไปยัง webhook จำนวนตัวอักษรไม่เกิน 300 ตัวอักษร
  • displayText: ข้อความที่จะส่งเข้าไปในห้องพูดคุยในฐานะข้อความจากผู้ใช้ จำนวนตัวอักษรไม่เกิน 300 ตัวอักษร
....................

          Message action เมื่อตัวควบคุมที่เกี่ยวข้องกับ Message action ถูกแตะ ข้อความที่ระบุอยู่ใน text จะถูกส่งเข้าไปในห้องพูดคุยในฐานะข้อความจากผู้ใช้ โดย JSON ของการกระทำนี้จะมีหน้าตาเป็นแบบนี้

{  
   "type":"message",
   "label":"สั่งซื้อ",
   "text":"สั่งซื้อ"
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ message
  • label: ข้อความกำกับของ action
  • text: ข้อความที่จะส่งเข้าไปในห้องพูดคุยในฐานะข้อความจากผู้ใช้ จำนวนตัวอักษรไม่เกิน 300 ตัวอักษร
....................

          URI action เมื่อตัวควบคุมที่เกี่ยวข้องกับ URI action ถูกแตะ URI ที่ระบุอยู่ใน uri จะถูกเรียกใช้งาน โดย JSON ของการกระทำนี้จะมีหน้าตาเป็นแบบนี้

{  
   "type":"uri",
   "label":"Google",
   "uri":"https://www.google.com/"
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ uri
  • label: ข้อความกำกับของ action
  • uri: URI ที่จะทำงาน รองรับ http, https, line, และ tel จำนวนตัวอักษรไม่เกิน 1,000 ตัวอักษร
....................

          Datetime picker action เมื่อตัวควบคุมที่เกี่ยวข้องกับ Datetime picker action ถูกแตะ ก็จะแสดงตัวเลือกวัน-เวลาขึ้นมาให้ผู้ใช้เลือก เมื่อเลือกเสร็จแล้วก็จะส่งค่าไปที่ webhook โดย JSON ของการกระทำนี้จะมีหน้าตาเป็นแบบนี้

{  
   "type":"datetimepicker",
   "label":"เลือกวันและเวลา",
   "data":"value=12345",
   "mode":"datetime",
   "initial":"2018-10-26t00:00",
   "max":"2019-12-31t23:59",
   "min":"2017-01-01t00:00"
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ datetimepicker
  • label: ข้อความกำกับของ action
  • data: ค่าที่จะส่งไปยัง webhook จำนวนตัวอักษรไม่เกิน 300 ตัวอักษร
  • mode: โหมดสำหรับตัวเลือก มีทั้งหมด 3 โหมด ได้แก่ date สำหรับเลือกวันที่, time สำหรับเลือกเวลา และ datetime สำหรับเลือกทั้งวันที่และเวลา
  • initial: ค่าเริ่มต้น
  • max: ค่ามากสุดที่สามารถเลือกได้
  • min: ค่าน้อยสุดที่สามารถเลือกได้
ค่าของวันที่จะอยู่ในรูปแบบ "ปี-เดือน-วัน" เช่น 2018-10-26 เป็นต้น
ค่าของเวลาจะอยู่ในรูปแบบ "ชั่วโมง:นาที" เช่น 13:00 เป็นต้น
ค่าของวันเวลาจะอยู่ในรูปแบบ "ปี-เดือน-วันTชั่วโมง:นาที" หรือ "ปี-เดือน-วันtชั่วโมง:นาที" เช่น 2018-10-26T13:00 หรือ 2018-10-26t13:00 เป็นต้น

....................

          Camera action เมื่อตัวควบคุมที่เกี่ยวข้องกับ Camera action ถูกแตะก็จะทำการเปิดหน้าจอกล้องถ่ายรูปของ LINE ขึ้นมา โดย JSON ของการกระทำนี้จะมีหน้าตาประมาณนี้

{  
   "type":"camera",
   "label":"กล้องถ่ายรูป",
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ camera
  • label: ข้อความกำกับของ action จำนวนตัวอักษรไม่เกิน 20 ตัวอักษร
....................

          Camera roll action เมื่อตัวควบคุมที่เกี่ยวข้องกับ Camera roll action ถูกแตะก็จะทำการเปิดหน้าจอเลือกรูปภาพของ LINE ขึ้นมา โดย JSON ของการกระทำนี้จะมีหน้าตาประมาณนี้

{  
   "type":"cameraRoll",
   "label":"เลือกรูป",
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ cameraRoll
  • label: ข้อความกำกับของ action จำนวนตัวอักษรไม่เกิน 20 ตัวอักษร
....................

          Location action เมื่อตัวควบคุมที่เกี่ยวข้องกับ Location action ถูกแตะก็จะทำการเปิดหน้าจอเลือกรูปภาพของ LINE ขึ้นมา โดย JSON ของการกระทำนี้จะมีหน้าตาประมาณนี้

{  
   "type":"location",
   "label":"แผนที่",
}
  • type: เป็นตัวกำหนดประเภทของการตอบกลับ ในที่นี้คือ location
  • label: ข้อความกำกับของ action จำนวนตัวอักษรไม่เกิน 20 ตัวอักษร


          บทความนี้เป็นการแนะนำวิธีใช้ความสามารถในการตอบกลับอันหลากหลายของ LINE bot บน Dialogflow โดยการใช้ Custom payload ช่วยในการดัดแปลงข้อความตอบกลับ ซึ่งจะทำให้ bot ของเรามีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และถ้าอยากทราบรายละเอียดเชิงลึก เพื่อน ๆ สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ docs ของ LINE Messaging API .....ถึงตรงนี้ ผมก็คงต้องขอตัวลาไปก่อน ไว้พบกันใหม่ในบทความถัดไป บ๊ายบาย


วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ก้าวแรกกับการพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนด้วย Flutter


          Flutter คือ SDK ที่ใช้ภาษา Dart ในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนที่สามารถทำงานข้ามแพลตฟอร์มบนระบบปฏิบัติการ Android และระบบปฏิบัติการ iOS ถูกพัฒนาโดย Google และแน่นอนว่าเป็น open source ที่สามารถนำไปใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ Flutter จะช่วยทำให้ UI และประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันที่ถูกสร้างขึ้นมามีความคล้ายกับ Native แอปพลิเคชัน แถม Google ก็ยังโฆษณาอีกว่า Flutter สามารถทำงานร่วมกับภาษา Native (ภาษา Java หรือ Kotlin ของ Android และภาษา ObjectiveC หรือ Swift ของ iOS) ได้อีกด้วย .....จะจริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ เราก็มาลองเล่นกันเลยดีกว่า

ติดตั้ง Flutter SDK


          เริ่มติดตั้ง Flutter SDK โดยการเข้าไปที่ Flutter Install


          ให้เลือกติดตั้งตามระบบปฏิบัติการของเพื่อน ๆ ในที่นี้ผมขอติดตั้งบน Windows ละกัน ซึ่งการจะเรียกใช้งาน Flutter นั้น ในเครื่องจำเป็นต้องมี PowerShell เวอร์ชัน 5.0ขึ้นไปและ Git for Window ก่อน ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีการอัปเดต Window อยู่เสมอ ๆ ก็คงไม่ต้องติดตั้ง PowerShell เพิ่ม ส่วนเพื่อน ๆ ที่ยังไม่ได้ติดตั้ง Git ก็สามารถย้อนกลับไปอ่านบทความ "วิธีติดตั้ง Git ก่อนเริ่มใช้งาน" ก่อนได้เลย


          อันดับถัดไปให้ดาวน์โหลด Flutter SDK จาก Flutter SDK โดยเลือกเวอร์ชันล่าสุด (ณ ปัจจุบันที่เขียนบทความนี้คือ Beta v0.6.0)

          หลังจากโหลดเสร็จ ก็จะได้ไฟล์ .zip มาตัวนึง ให้ทำการ Extract ไฟล์ออกมา แล้ว copy โฟล์เดอร์ flutter ไปเก็บไว้ในพาทที่ต้องการ (ในที่นี้ผมเอาไปไว้ใน E:\ ก็จะกลายเป็น E:\flutter\ ) ยกเว้นพาท C:\Program Files\ (เพราะในพาทนี้จะต้องการสิทธิ์ในการเขียนข้อมูล) จากนั้นเข้าไปยังโฟล์เดอร์ flutter และดับเบิ้ลคลิกไฟล์ flutter_console.bat ก็จะได้ Flutter Console ขึ้นมา เพียงแค่นี้เราก็พร้อมใช้งานคำสั่งของ Flutter แล้ว

          ขั้นตอนถัดไป ให้ติดตั้ง Android Studio โดยเพื่อน ๆ สามารถดูขั้นตอนติดตั้งได้ที่ "เตรียมความพร้อมก่อนจะพัฒนาโปรแกรมบน Android" จากนั้นเพื่อน ๆ จะต้องอัปเดต Android SDK (วิธีอัปเดตก็อยู่ล่าง ๆ ของบทความติดตั้งแล้ว) ต่อไปเราก็จะมาติดตั้ง Flutter Plugin ใน Android Studio เพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาแอปพลิเคชัน


          เปิด Android Studio ขึ้นมาแล้วคลิกที่ Configure > Plugins


          คลิก Browse repositoriess... จากนั้นกรอกคำว่า flutter ในช่องค้นหา แล้วคลิก Install ระบบจะถามโดยอัตโนมัติว่า "จะติดตั้ง plugin ของภาษา Dart ด้วยหรือไม่?" ก็ให้คลิก Yes ติดตั้งไปด้วยเลย รอจนติดตั้ง plugin เสร็จ Android Studio ก็จะ restart ตัวเอง


          กลับมาที่ Flutter Console ให้พิมพ์คำสั่ง  flutter doctor  เพื่อให้คุณหมอตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์ของเราพร้อมจะใช้งาน Flutter หรือยัง (ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ให้พิมพ์  flutter doctor -v  แทน) โดยสิ่งที่คุณหมอจะตรวจสอบ ได้แก่
  • Flutter SDK และ Dart SDK
  • Android Toolchain เครื่องมือที่จำเป็นในการพัฒนา Android แอปพลิเคชัน
  • iOS Toolchain เครื่องมือที่จำเป็นในการพัฒนา iPhone แอปพลิเคชัน
  • โปรแกรมสำหรับเขียนโค้ดรวมถึง plugin ที่จะต้องใช้ (เช่น Android Studio IDE, IntelliJ IDEA, VS Code)
  • การเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนหรือ Emulator

          ผลจากการรันในเครื่องของผมจะเห็นได้ว่าไม่มี iOS Toolchain อยู่ (ซึ่งก็แน่อยู่แล้วเพราะผมไม่ได้ใช้ Macbook ฮา) และมี [!] อยู่ในบรรทัดสุดท้าย เนื่องจากยังไม่ได้เชื่อมต่อสมาร์ตโฟนเข้ากับคอมพิวเตอร์ (หรือเปิด Emulator) อ่านวิธีเชื่อมต่อสมาร์ตโฟน หรือวิธีเปิด Emulator


          หลังจากเชื่อมต่อสมาร์ตโฟนเข้ากับคอมพิวเตอร์หรือเปิด Emulator แล้ว ให้พิมพ์คำสั่งคุณหมอ  flutter doctor -v  เหมือนเดิม ก็จะพบว่าเครื่องหมาย [!] หายไปแล้ว ฟู่ กว่าจะมาถึงขั้นนี้ได้ก็ลำบากพอสมควรเหมือนกันนะเนี่ย แต่ไม่เป็นไร สู้ต่อไป! ทาเคชิ! .....เปิดโปรแกรม Android Studio มาต่อกันเลย

สร้างโปรเจค Flutter



          หลังจากติดตั้ง Flutter plugin แล้วจะมีเมนูใหม่โผล่ขึ้นมา ให้คลิก Start a new Flutter project ได้เลย


          เลือกที่ Flutter Application แล้วคลิกปุ่ม Next


          ให้กรอกข้อมูลของแอปพลิเคชัน จากนั้นคลิกปุ่ม Next
  • Project Name: ชื่อโปรเจค ใช้เป็นอักษรตัวเล็กหรือ _ คั่นระหว่างคำ ไม่สามารถใช้อักษรพิเศษหรือช่องว่างได้
  • Fultter SDK path: ตำแหน่งที่เก็บ SDK ของ Flutter ตามที่ได้ติดตั้งในบทความนี้ (ของผมเป็น E:\flutter)
  • Project location: ตำแหน่งที่เก็บไฟล์โปรเจค
  • Description: คำอธิบายโปรเจค

          ถัดไปให้กรอก Company domain หรือ URL ของเว็บไซต์ เพื่อจะใช้ในการสร้าง Package name *ชื่อ Package name คือชื่อรหัสประจำตัวของแอปฯ ซึ่งจะต้องห้ามซ้ำกับของแอปพลิเคชันอื่น จากนั้นก็คลิก Finish เป็นอันเสร็จสิ้นการสร้างโปรเจค


          คลิกปุ่มเล่นตรงแถบข้างบนโค้ด (หรือกด Shift + F10) เพื่อสั่งรันโปรเจค


          เท่านี้ก็ได้โปรแกรมง่าย ๆ ของ Flutter แล้ว สำหรับก้าวแรกในการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบ Cross Platform ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ เอาไว้พบกันใหม่กับบทความถัดไป บ๊ายบาย ✋


ของแถม!!!

วิธีใช้งาน Flutter บน CMD

          ปกติคำสั่งของ Flutter จะถูกใช้งานบน Flutter Console เท่านั้น แต่ถ้าเพื่อน ๆ ต้องการใช้งานคำสั่งของ Flutter ใน Windows command prompt ก็ให้เพิ่ม Flutter ลงใน PATH environment variable ของคอมพิวเตอร์ก่อน


          คลิกขวาที่ My Computer แล้วเลือก Properties


          เลือก Advanced system settings


          คลิก Environment Variables…


          เลือกที่ Path ในส่วนของ System variable แล้วคลิก Edit...


          จะปรากฏหน้าต่างแบบนี้ขึ้นมา ให้คลิกที่ปุ่ม New


          ให้พิมพ์ตำแหน่งที่เก็บ bin ของ Flutter ในที่นี้ผมใส่เป็น E:\flutter\bin แล้วคลิกปุ่ม OK


          คลิก OK


          คลิก OK เท่านี้เราก็สามารถใช้คำสั่งของ Flutter ใน Windows command prompt ได้แล้ว ลองพิมพ์คำสั่ง  flutter doctor  ก็จะได้ผลลัพธ์เหมือนกับที่พิมพ์ใน Flutter Console


          เรียบร้อยจ้า!!

วิธีอัพเกรด Flutter

          ปัจจุบันนี้ Flutter อยู่ในช่วงตั้งไข่ ยังไม่ใช่เวอร์ชันเต็ม ซึ่งทีมพัฒนา Flutter ของ Google ก็พยายามพัฒนาความสามารถของ Flutter ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเราสามารถเช็คเวอร์ชันของ Flutter ที่เราใช้งานอยู่ได้ด้วยคำสั่ง

flutter --version
และเมื่อทีมพัฒนา Flutter ปล่อยเวอร์ชันใหม่ของ Flutter ออกมา เราก็จำเป็นต้องอัพเกรด Flutter ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อเพิ่มความสามารถให้สูงขึ้นด้วยคำสั่ง

flutter upgrade
อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่เราจำเป็นต้องอัพเกรด Flutter ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด นั่นคือ โค้ดคำสั่งบางโค้ดอาจจะถูกยกเลิกออกไป ซึ่งส่งผลให้แอปพลิเคชันที่เราพัฒนาขึ้นมาเกิด Error จนไม่สามารถใช้ได้ เพราะงั้นเพื่อน ๆ ก็อย่าลืมอัพเกรด Flutter กันด้วยนะ


วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ทำระบบ Login เข้าใช้งานเว็บไซต์ด้วย Google+ Login


          ถ้าพูดถึงเว็บ Social Media แล้ว เพื่อน ๆ ก็คงจะนึกถึง Facebook กันใช่ม่ะ แต่ในความเป็นจริง นอกจาก Facebook แล้วก็ยังมีเว็บ Social Media อีก Platform นึงอยู่นะ..... Google+ (Google Plus) ชื่อนี้คนทั่วไปอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันสักเท่าไหร่ แต่ก็ถือเป็นเว็บ Social Media อีกเว็บที่ Google เป็นเจ้าของ ซึ่งแน่นอนว่าเราสามารถเข้าใช้งาน Google+ ด้วย account ของ Google ได้

          แม้ว่า Google+ จะไม่ค่อยประสบความสำเร็จและเป็นที่นิยมเท่ากับ Facebook สักเท่าไหร่ แต่ทาง Google ก็ได้เปิด API ให้นักพัฒนาสามารถนำ Google+ Login ไปใช้ในการยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งานเว็บไซต์ภายนอกได้เหมือนกับ Facebook ซึ่งในบทความที่แล้วนู้นนนน เราได้ผนวก Facebook Login เข้ากับเว็บไซต์ของเราไปแล้ว ในบทความนี้เรามาลองผนวก Google+ Login เข้ากับเว็บไซต์ของเรากันบ้างดีกว่า เย่!

          การจะใช้งาน Google+ Login นั้น อันดับแรกจะต้องเปิดการใช้งาน Google+ API แล้วสร้าง Client ID ที่จะใช้ในการเรียก Library ของ Google ก่อน ถัดไปก็โหลด Library เข้าไปที่เว็บ แล้วสร้างปุ่มไว้เรียกใช้งาน Login API  แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จ ว่าแล้วก็อย่ารอช้า ลุยที่ขั้นตอนแรกกันเลยดีกว่า

เปิดการใช้งาน Google+ API


          เริ่มต้นด้วยการเข้าไปที่ Google API Console


          คลิกปุ่ม Create หรือ สร้าง เพื่อทำการสร้างโปรเจ็กต์ใหม่


          จัดตั้งชื่อให้เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม สร้าง (Create)


          คลิกที่ เปิดใช้ API และบริการ (Enable APIs & Services)


          ให้ค้นหาแล้วก็คลิกไปที่ Google+ API


          คลิกเบา ๆ ที่ปุ่ม เปิดใช้ (Enable) โล้ดดดดด


          หลังจากเปิดการใช้งาน Google+ API แล้ว ขั้นตอนถัดไปให้คลิกที่ API และบริการ (APIs & Services) ตรงมุมซ้ายบน แล้วจึงคลิกที่ ข้อมูลรับรอง (Credentials) ตรงแถบเมนูด้านซ้าย


          คลิกที่แท็บ "หน้าจอคำยินยอม OAuth" จากนั้นให้กรอกชื่อแอปพลิเคชัน และ email โดยชื่อแอปพลิเคชันจะเป็นชื่อที่แสดงให้ผู้ใช้งานเห็นก่อนจะทำการ Login ถัดไปให้เลื่อนลงมาข้างล่าง แล้วคลิกที่ปุ่ม บันทึก (Save)


          ในแท็บ "ข้อมูลรับรอง" ให้คลิกที่ สร้างข้อมูลรับรอง (New credentials) จะมีตัวเลือกปรากฏออกมา ให้เลือกที่ รหัสไคลเอ็นต์ OAuth (OAuth client ID)


          ตรงประเภทของแอปพลิเคชันให้เลือกเป็น "เว็บแอปพลิเคชัน" (Web application) แล้วเลื่อนลงมาข้างล่าง ในส่วนของ JavaScript เริ่มต้นที่ได้รับอนุญาต ให้กรอก URL ของเว็บไซต์ที่จะเรียกใช้งาน JavaScript Library กด Enter จากนั้นจึงคลิกปุ่ม สร้าง (Create)


          พอสร้างเสร็จแล้วจะมี OAuth client dialog box แสดงขึ้นมา ให้ก็อปปี้ "รหัสไคลเอ็นต์" (Client ID) และ "รหัสลับไคลเอ็นต์" (Client secret) เอาไว้ โดยใน dialog box จะมีแจ้งว่า OAuth มีขีดจำกัดการใช้งาน เนื่องจาก OAuth นี้ยังไม่ได้รับการเผยแพร่จากทาง Google ถ้าอยากเผยแพร่แอปพลิเคชัน จะต้องรอให้ Google ตรวจสอบความน่าเชื่อถือแอปพลิเคชันของเราก่อน

          การจะส่งแอปพลิเคชันให้ Google ตรวจสอบ จำเป็นต้องเข้าไปที่เมนู "ข้อมูลรับรอง" (Credentials) คลิกที่แท็บ หน้าจอคำยินยอม OAuth (OAuth consent screen) จากนั้นให้เพิ่ม URL หน้าแรกของเว็บไซต์ และ URL นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy URL) เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยค่อยคลิกปุ่ม ส่งเพื่อการยืนยัน แล้วก็รอการตรวจสอบจาก Google โดยจะมี email แจ้งความคืบหน้าส่งมาให้

          หลังจากที่เราได้ Client ID มาแล้ว อันดับต่อไปก็จะเป็นการเขียนโค้ดสร้างปุ่ม Login ซึ่งในบทความนี้จะแบ่งวิธีใช้งานปุ่ม Login ออกเป็นสองแบบ นั่นคือ ใช้งานปุ่ม Login ของ Google หรือใช้งานปุ่ม Login ของเราเอง ซึ่งทั้งสองวิธีจะมีการเขียนโค้ดที่แตกต่างกันเล็กน้อย เอาล่ะ มาลงมือเขียนโค้ดกันเลยดีกว่า

เพิ่ม Google Sign-In ลงในเว็บไซต์


1. Sign-In ด้วยปุ่ม Login ของ Google

          ทำการเพิ่ม JavaScript Library ที่จำเป็นเข้าไปในเว็บไซต์ด้วยการเพิ่มโค้ดดังต่อไปนี้ลงไปภายใน <head>

<meta name="google-signin-scope" content="profile email">
<meta name="google-signin-client_id" content="YOUR_CLIENT_ID">
<script src="https://apis.google.com/js/platform.js" async defer></script>
โดยแก้ไข YOUR_CLIENT_ID ให้เป็นค่า Client ID ที่ได้จากการสร้างเมื่อสักครู่ เท่านี้ก็เสร็จสิ้นการเพิ่ม JavaScript Library ลงไปในเว็บไซต์ของเราแล้ว

          ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเขียนโค้ดแสดงปุ่ม Login ของ Google และ textarea สำหรับแสดงผลการ Login ให้เพิ่มโค้ดดังต่อไปนี้ลงไปภายใน <body>

<div class="g-signin2" data-onsuccess="onSignIn" data-theme="dark"></div>
<br>
Result: <textarea id="result"></textarea>
เพิ่มปุ่ม Login เสร็จแล้ว ต่อไปให้เขียนโค้ดสำหรับแสดงผลการ Login ให้เพิ่มโค้ดดังต่อไปนี้ลงไปภายใน <body>

<script>
  function onSignIn(userInfo) {
    var result = '';
    
    // Useful data for your client-side scripts:
    var profile = userInfo.getBasicProfile();
    
    result+= "ID: "+profile.getId()+"\n";
    result+= "Full Name:  "+profile.getName()+"\n";
    result+= "Given Name: "+profile.getGivenName()+"\n";
    result+= "Family Name: "+profile.getFamilyName()+"\n";
    result+= "Email: "+profile.getEmail()+"\n";
    result+= "ID Token: "+userInfo.getAuthResponse().id_token+"\n";
    
    document.getElementById("result").value = result;
  };
</script>
จากโค้ดด้านบน ฟังก์ชัน onSignIn() จะทำการรับข้อมูลผู้ใช้งานมา จากนั้นก็แสดงผลใน textarea ซึ่งเมื่อคลิกปุ่ม Login ของ Google แล้ว จะเป็นการเรียกใช้งานฟังก์ชันจาก JavaScript Library ถ้า Login Account ได้สำเร็จ ก็จะไปเรียกใช้งานฟังก์ชัน onSignIn() เพื่อแสดงผลข้อมูลของผู้ใช้

          แค่นี้ก็เสร็จแล้ว วิธีนี้ถือเป็นวิธีที่ง่ายมาก เนื่องจากเราไม่ต้องทำอะไรเลย แค่เพิ่ม JavaScript Library และสร้างปุ่มของ Google ขึ้นมาบนหน้าเว็บก็จบแล้ว ต่อไปเรามาดูวิธีที่สองกันว่าจะยากง่ายยังไง

....................

2. Sign-In ด้วยปุ่ม Login ของเราเอง

          วิธีที่สองนี้ เริ่มต้นด้วยการเพิ่ม JavaScript Library ลงในเว็บไซต์เหมือนกับวิธีแรก โดยเพิ่มโค้ดดังต่อไปนี้ลงไปภายใน <head>

<script src="https://apis.google.com/js/platform.js?onload=bindGpLoginBtn" async defer></script>
จะเห็นได้ว่าโค้ดเปลี่ยนไปจากวิธีแรกนิดหน่อยโดยมี ?onload=bindGpLoginBtn พ่วงท้ายเข้ามา ซึ่งเจ้าข้อความที่เพิ่มเข้ามาหมายถึง เมื่อโหลด Library เสร็จแล้วให้เรียกใช้งานฟังก์ชัน bindGpLoginBtn ต่อทันที

           ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเขียนโค้ดแสดงปุ่ม Login ของ Google และ textarea สำหรับแสดงผลการ Login ให้เพิ่มโค้ดดังต่อไปนี้ลงไปภายใน <body>

<button id="gp-login-btn">Sign in with Google</button>
<br>
Result: <textarea id="result"></textarea>
ปุ่มที่เราได้เพิ่มเข้ามาในวิธีที่สองนี้เป็นเพียงปุ่มธรรมดา ๆ แตกต่างจากปุ่มในวิธีแรก เพราะงั้นเราจะต้องผูก event เข้ากับปุ่ม เมื่อมีการคลิกปุ่มก็ให้ไปเรียกฟังก์ชัน Login ของ Google

อันดับต่อไปให้เขียนโค้ดผูก event เข้ากับปุ่ม เพื่อจัดการการ Login โดยเพิ่มโค้ดดังต่อไปนี้ลงไปภายใน <body>

<script>
  function bindGpLoginBtn() {
    gapi.load('auth2', function(){
      auth2 = gapi.auth2.init({
        client_id: 'YOUR_CLIENT_ID',
        scope: 'profile email'
      });
      attachSignin(document.getElementById('gp-login-btn'));
    });
}
   
  function attachSignin(element) {
    auth2.attachClickHandler(element, {},
      function(googleUser) {
        // Success
 getCurrentGpUserInfo(googleUser);
      }, function(error) {
 // Error
 console.log(JSON.stringify(error, undefined, 2));
      }
    );
  }

  function getCurrentGpUserInfo(userInfo) {
    var result = '';
    
    // Useful data for your client-side scripts:
    var profile = userInfo.getBasicProfile();
    
    result+= "ID: "+profile.getId()+"\n";
    result+= "Full Name:  "+profile.getName()+"\n";
    result+= "Given Name: "+profile.getGivenName()+"\n";
    result+= "Family Name: "+profile.getFamilyName()+"\n";
    result+= "Email: "+profile.getEmail()+"\n";
    result+= "ID Token: "+userInfo.getAuthResponse().id_token+"\n";
    
    document.getElementById("result").value = result;
}
</script>
ในโค้ดด้านบนให้แก้ไข YOUR_CLIENT_ID ให้เป็นค่า Client ID ที่ได้จากการสร้างเมื่อสักครู่ โดยฟังก์ชัน bindGpLoginBtn จะถูกเรียกให้ทำงานเพื่อกำหนดค่าและผูก event เข้ากับปุ่ม โดยเมื่อมีการกดปุ่มก็จะไปเรียกใช้งานฟังก์ชัน Login จาก JavaScript Library ถ้า Login ได้สำเร็จก็จะเรียกใช้งานฟังก์ชัน getCurrentGpUserInfo() เพื่อแสดงข้อมูลของผู้ใช้งาน

....................

     

          หลังจากเขียนโค้ดเสร็จทั้งสองวิธีแล้ว อันดับถัดไปก็ถึงเวลาทดสอบโค้ดที่เขียนแล้ว โดยรูปฝั่งซ้ายเป็นปุ่มของ Google ส่วนรูปฝั่งขวาจะเป็นปุ่มที่เราสร้างขึ้นเอง


          เมื่อคลิกปุ่มแล้ว จะมีป๊อปอัพขึ้นมาถามว่าจะ Login ด้วย Account อะไร พร้อมทั้งมีข้อความแจ้งว่า "Google จะส่งข้อมูลชื่อและ email ให้กับแอปพลิเคชันนี้" ซึ่งถ้าเรา Login ก็หมายความว่าเรายินยอมที่จะเป็นการแบ่งข้อมูลให้กับเว็บไซต์ ซึ่งจุดนี้ก็จะเหมือนกับป๊อปอัพที่ขึ้นมาถามในบทความ Facebook Login ให้เพื่อน ๆ อ่านสักนิดก่อนที่จะ Login นะจ๊ะ


          หลังจาก Login แล้วก็ได้ข้อมูลของผู้ใช้งานมาแสดงตามรูป..... Done! สำหรับบทความนี้ก็ขอจบลงเพียงแค่นี้ เอาไว้พบกันใหม่บทความหน้า บ๊ายบาย


ไฟล์โค้ด: AiNoTsubasa's Github

ของแถม!!!

          ถ้าต้องการให้มีปุ่ม Logout ให้เพิ่มโค้ดดังต่อไปนี้ลงไปภายใน <body> จ้า

<button onclick="signOut();">Sign out</button>
<script>
  function signOut() {
    var auth2 = gapi.auth2.getAuthInstance();
    auth2.signOut().then(function () {
      console.log('User signed out.');
    });
  }
</script>