วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

[PHP] ตอนที่ 6: การตรวจสอบเงื่อนไข


          ส่วนมากในการเขียนโปรแกรม เราจำเป็นต้องเขียนให้โปรแกรมมีการตัดสินใจทำอะไรบางอย่างตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น โปรแกรมตัดเกรดที่จะรับคะแนนของนักเรียนเข้ามาแล้วแปลงเป็นเกรด เป็นต้น ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเขียนโปรแกรมให้มีการตรวจสอบเงื่อนไข เพื่อเป็นการกำหนดเส้นทางการทำงานว่าโปรแกรมควรจะทำอะไรต่อไป โดยคำสั่งสำหรับตรวจสอบเงื่อนไขแบ่งออกเป็น 2 คำสั่ง ได้แก่ คำสั่ง if และ คำสั่ง switch

คำสั่ง if


          คำสั่ง if เป็นคำสั่งสำหรับตรวจสอบเงื่อนไขอย่างง่าย สามารถแบ่งเป็น 3 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ การตรวจสอบเงื่อนไขทางเลือกเดียว, การตรวจสอบเงื่อนไข 2 ทางเลือก, การตรวจสอบเงื่อนไขหลายทางเลือก

การตรวจสอบเงื่อนไขทางเลือกเดียว

<?php

/********** Syntax **********/
if( เงื่อนไข )
{
 //การทำงาน
}

/********** ตัวอย่าง **********/
$a = 81;
if( $a >= 80 )
{
 echo 'ตัวแปร $a มีค่ามากกว่าเท่ากับ 80';
}

if( $a >= 80 && $a <= 100 )
{
 echo 'ตัวแปร $a มีค่าอยู่ในระหว่าง 80 ถึง 100';
}

?>
          การตรวจสอบเงื่อนไขทางเลือกเดียวจะใช้คำสั่ง if( เงื่อนไข ) โดยเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง โปรแกรมก็จะทำงานตามการทำงานที่ถูกกำหนดไว้ในเครื่องหมายปีกกา

การตรวจสอบเงื่อนไข 2 ทางเลือก

<?php

/********** Syntax **********/
if( เงื่อนไข )
{
 //การทำงาน (1)
}
else
{
 //การทำงาน (2)
}

/********** ตัวอย่าง **********/
$a = 81;
if( $a >= 80 )
{
 echo 'ตัวแปร $a มีค่ามากกว่าเท่ากับ 80';
}
else
{
 echo 'ตัวแปร $a มีค่าน้อยกว่า 80';
}

?>
          การตรวจสอบเงื่อนไขทางเลือกเดียวจะใช้คำสั่ง if( เงื่อนไข ) ..... else ..... โดยเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง โปรแกรมก็จะทำงานตาม การทำงาน (1) ที่ถูกกำหนดไว้ในเครื่องหมายปีกกา และเมื่อเงื่อนไขไม่เป็นจริงโปรแกรมก็จะทำงานตาม การทำงาน (2)

การตรวจสอบเงื่อนไขหลายทางเลือก

<?php

/********** Syntax **********/
if( เงื่อนไข 1 )
{
 //การทำงาน (1)
}
else if( เงื่อนไข 2 )
{
 //การทำงาน (2)
}
else if( เงื่อนไข 3 )
{
 //การทำงาน (3)
}
else
{
 //การทำงาน (สุดท้าย)
}


/********** ตัวอย่าง **********/
$score = 75;

if( $score >= 80 )
{
 echo "เกรด A";
}
else if( $score >= 70 )
{
 echo "เกรด B";
}
else if( $score >= 60 )
{
 echo "เกรด C";
}
else if( $score >= 50 )
{
 echo "เกรด D";
}
else
{
 echo "เกรด F";
}

?>
          การตรวจสอบเงื่อนไขทางเลือกเดียวจะใช้คำสั่ง if( เงื่อนไข ) ..... else if( เงื่อนไข ) ..... โดยเมื่อ เงื่อนไข 1 เป็นจริง โปรแกรมก็จะทำงานตาม การทำงาน (1) ถ้า เงื่อนไข 1 ไม่เป็นจริงโปรแกรมก็จะไล่เช็คเงื่อนไขต่อ ๆ ไป เมื่อเจอเงื่อนไขที่เป็นจริงแล้ว โปรแกรมก็จะทำงานตามการทำงานที่อยู่ในเงื่อนไขนั้น ๆ และข้ามการทำงานของเงื่อนไขอื่น ๆ ไป

คำสั่ง switch


          คำสั่ง switch เป็นคำสั่งสำหรับตรวจสอบเงื่อนไขหลายทางเลือกคล้าย ๆ กับของ คำสั่ง if แต่มีรูปแบบการเขียนที่กระชับกว่า จุดที่แตกต่างกันคือ คำสั่ง switch จะตรวจสอบว่าเงื่อนไขนั้นมีค่าตรงตามที่กำหนดไว้หรือเปล่า ทำให้มีความยืดหยุ่นน้อยกว่า คำสั่ง if

<?php

/********** Syntax **********/
switch( เงื่อนไข )
{
 case ค่าที่ 1:
  //การทำงาน (1)
  break;
 case ค่าที่ 2:
  //การทำงาน (2)
  break;
 case ค่าที่ 3:
  //การทำงาน (3)
  break;
 ...
 default:
  //การทำงาน (สุดท้าย)
} 

/********** ตัวอย่าง **********/
$gender = "ผู้ชาย";
switch($gender)
{
 case "ผู้ชาย":
  echo "ชื่อของคุณขึ้นต้นด้วยคำว่า นาย";
  break;
 case "ผู้หญิง":
  echo "ชื่อของคุณขึ้นต้นด้วยคำว่า นาง หรือ นางสาว";
  break;
 default:
  echo "คุณเป็นเพศที่ 3";
} 

?>
          คำสั่ง switch( เงื่อนไข ) จะทำการตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขนั้นมีค่าตรงกับ case ไหนก็จะทำงานตามคำสั่งที่อยู่ภายใน case นั้น และเมื่อทำงานเสร็จแล้วจะต้องมีคำสั่ง break; เพื่อแสดงจุดสิ้นสุดการทำงาน ซึ่งโปรแกรมก็จะไม่ทำการตรวจสอบเงื่อนไขกับ case อื่น ๆ ที่เหลืออีก

          ในบทความตอนนี้เพื่อน ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีเขียนโปรแกรมแบบกำหนดเงื่อนไขซึ่งจะช่วยให้โปรแกรมของเพื่อน ๆ มีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลได้ ในบทความถัดไปจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคำสั่งทำซ้ำ (Loop)


----- สารบัญ -----


Share:

0 comments:

แสดงความคิดเห็น